กระบวนการแสวงหาแหล่งสารสนเทศในการนำเสนอข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยในยุคสื่อหลอมรวม
Abstract
การวิจัยเรื่อง “กระบวนการแสวงหาแหล่งสารสนเทศในการนำเสนอข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยในยุคสื่อหลอมรวม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแสวงหาแหล่งสารสนเทศในการนำเสนอข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยในยุคสื่อหลอมรวม และเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแหล่งสารสนเทศของหนังสือพิมพ์ไทย โดยผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เลือกผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือ นักข่าวกีฬาของสื่อหนังสือพิมพ์ จำนวน 18 คน แบ่งได้ 3 กลุ่มแยกตามประสบการณ์ ดังนี้ กลุ่มนักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์ทำงาน 1-5 ปี กลุ่มนักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์ทำงาน 6-14 ปี และกลุ่มนักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์ทำงาน 15 ปี-15 ปีขึ้นไป
ผลการวิจัยพบว่านักข่าวกีฬาไทยจะมีกระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อนำเสนอข่าวกีฬา ดังนี้ 1. กำหนดประเด็นตามวาระหรือกำหนดตามสถานการณ์ประจำวัน 2. แสวงหาสารสนเทศจากหลากหลายช่องทาง ได้แก่ บุคคล เว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ 3. รวบรวมสารสนเทศที่แสวงหามาได้ทั้งหมด 4. กลั่นกรองประเมินความน่าเชื่อถือ และ 5. นำเสนอข่าวสาร โดยแหล่งสารสนเทศที่ดีที่สุดในการนำเสนอข่าวกีฬาภายในประเทศ ได้แก่ บุคคล ทั้งบุคคลที่เป็นต้นตอของข่าว หรือบุคคลใกล้ชิด เพราะทำให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่ลึกและกว้างมากขึ้น ซึ่งนักข่าวมีประสบการณ์ทำงานมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์ทำงาน 15 ปี-15 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่เข้าถึงแหล่งข้อมูลบุคคลได้มากที่สุด ส่วนกลุ่มนักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์ทำงาน 1-5 ปีมีความถนัดในการใช้สื่อออนไลน์ในการแสวงหาสารสนเทศและนำเสนอสารสนเทศมากที่สุด ขณะที่กลุ่มนักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์ทำงาน 6-14 ปีเป็นกลุ่มที่ผสมผสานการใช้สื่อทั้งการเข้าถึงแหล่งข่าวบุคคลได้ดีควบคู่กับการใช้สื่อออนไลน์ในการแสวงหาสารสนเทศและนำเสนอสารสนเทศได้ดีเช่นกันKeywords
Full Text:
UntitledReferences
กนิษฐา ไชยแสง. (2556). การใช้ทวิตเตอร์ของผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์และสารสนเทศ, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ และทิฆัมพร เอี่ยมเรไร. (2554). การสื่อสาร ศาสนา กีฬา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2548). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2537). สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานินท์. (2554). แนวทางการกำกับสื่อใหม่ในยุคการหลอมรวมเทคโนโลยี. วารสารนักบริหาร.31(4), 126-134.
ดนัยนพ เกราะทอง. (2544). กระบวนการแสวงหาข้อมูลสารสนเทศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.. ปริญญานิเทศศาตรมหาบัณฑิต การสื่อสารมวลชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. (2556). คู่มือจริยธรรมการรายงานข่าวกีฬา.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
อาภากร ธาตุโลหะ. (2553). ห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. ชลบุรี: ตะวันออกการพิมพ์.
American Library Association. (1989). Presidential Committee on Information Literacy: Final Report. Retrieved August 10, 2015, from http://www.ala.org/acrl/publications/whitepapers/presidential.
Jenkins, H. (2006). Convergence Culture: Where Old and New Media Collide. New York: New York University Press.
Real, M. (1998). Media Sport: Technology and the commoditization of Postmodern Sport. New York: Routledge.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง