การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล 2) การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของคณะกรรมการกับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล และ 4) หาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะและการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ดำเนินการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอำเภอท่าแซะ จำนวน 398 คน และดำเนินการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดชุมพร จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณารายด้านจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดลงไป คือ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านความรู้ ด้านแรงจูงใจ และด้านทักษะ ตามลำดับ 2. ส่วนการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณารายด้านจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเงินและบัญชี ด้านการดำเนินการ ด้านการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ และด้านการจัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงาน ตามลำดับ 3. สมรรถนะของคณะกรรมการมีความสัมพันธ์กับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ได้แก่ ด้านทักษะ และด้านแรงจูงใจ ส่วนด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ด้านความรู้ และด้านลักษณะส่วนบุคคล 4. แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารกองทุนองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่เหมาะสม คือ ควรคำนึงถึงสมรรถนะของตัวบุคคลว่ามีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการบริหารงานจริง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของกองทุน เป็นบุคคลที่มีความเสียสละ และทุ่มเทแรงกายแรงใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กัญญาณัฐ จันทรเสน และคณะ. (2552). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพเหนือ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธีระศักดิ์ กิตติคุณ. (2556). การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นวาริญ เพชรอุแท. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพร : ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิเวช เตชะบุตร. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลสบปราบ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ นิลละออง. (2554). ความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารกองทุน หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2553). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัชญา สังข์ทอง. (2554). แนวทางพัฒนากระบวนการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัตนาวดี นาคมูล. (2554). การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จังหวัดอุตรดิตถ์. ม.ป.ท.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง