พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเลือกซื้อไข่ไก่ของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร

พัชราพรรณ มณีโชติ

Abstract


     การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเลือกซื้อไข่ไก่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเลือกซื้อไข่ไก่ของประชาชนที่มีอายุ 18-60 ปี ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเลือกซื้อไข่ไก่ของประชาชนที่มีอายุ 18-60 ปี ในกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อไข่ไก่ของประชาชนที่มีอายุ 18-60 ปี ในกรุงเทพมหานคร ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยเป็นผู้ที่มีอายุ 18-60 ปี และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย รวมไปถึงมีการใช้ค่าสถิติต่าง ๆ เช่น ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสำหรับการวิเคราะห์สมมติฐาน ได้แก่ ค่า Independent Sample t-test, ค่า One Way ANOVA และค่าสมการถดถอย (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เพศที่แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อไข่ไก่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อไข่ไก่เพื่อการบริโภค ยกเว้นปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05




Keywords


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล, พฤติกรรมการเลือกซื้อไข่ไก่

Full Text:

Untitled

References


กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

นันทพร เส็งวงษ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อไข่ไก่ออร์แกนิคของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

พิทักษ์ ลิขิต. (2550). พฤติกรรมการเลือกซื้อไข่ไก่ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สาขาการจัดการธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัชรี ปาละทา. (2553). ความเป็นไปได้ในธุรกิจฟาร์มไข่ไก่ ในพื้นที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิไลลักษณ์ ชาวอุทัย. (2556). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคไข่ไก่ในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด: ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่. (2558). สถานการณ์ปี 2555 แนวโน้มปี 2556. สืบค้นวันที่ กันยายน 20, 2558, จาก http://www.egg-thailand.com.

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ. (2557). สถิติการเกษตรของไทยในปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). การบริหารการตลาด กลยุทธ์ และยุทธ์วิธี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2003). Marketing and introduction. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง