ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง

วริศรา แซ่อุ๋ย

Abstract


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง  ซึ่งประกอบด้วย 7Ps ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่/ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านกายภาพ และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง  การจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย กลุ่มอายุอยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรสการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ พบว่า จะตัดสินใจเองในการซื้อเครื่องปรับอากาศ และเครื่องปรับอากาศที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ยี่ห้อมิตซูบิชิ และในอนาคตเป็นยี่ห้อมิตซูบิชิ เช่น เดียวกัน เหตุผลที่เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศยี่ห้อดังกล่าวเพราะมีฉลากรับรองประหยัดไฟ มีแผนในการซื้อเครื่องปรับอากาศเมื่อสร้างบ้านใหม่ และจะสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากห้างสรรพสินค้า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศโดยภาพรวม ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมทางการตลาด และส่วนประสมทางการตลาดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับความมีชื่อเสียงของบริษัท เจ้าของผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ให้ความสำคัญกับการมีส่วนลดพิเศษสำหรับสมาชิก และการชำระเงินได้หลากหลาย ด้านการส่งเสริมการตลาด ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมการขายร่วมกับสินค้า อย่างอื่น ด้านช่องทางการให้บริการ ให้ความสำคัญกับการมีศูนย์บริการจำนวนมาก หลายสาขา ด้านบุคลากร ให้ความสำคัญกับการที่พนักงานแต่งกายดี มีความน่าเชื่อถือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ให้ความสำคัญกับการที่มีสถานที่จอดรถสะดวก และด้านกระบวนการ ให้ความสำคัญกับการที่มี กระบวนการที่มีขั้นตอนชัดเจน

จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ พบว่า

1. กลุ่มอายุของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ในส่วนของการการมีป้ายร้านค้าเด่น สะดุดตาม น่าเชื่อถือ

2.   สถานภาพสมรสของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการมีชื่อเสียงของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์

3.   สถานภาพสมรสของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านราคา ในส่วนของการมีส่วนลดพิเศษสำหรับสมาชิก

4.   สถานภาพสมรสของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกระบวนการ ในส่วนของระยะเวลาการจัดส่งสินค้าสั้น ไม่ต้องรอนาน

5.   รายได้ต่อเดือนของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านราคา ในส่วนของการชำระเงินได้หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต ฯลฯ

6.   รายได้ต่อเดือนของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านช่องทางการให้บริการ ในส่วนของการการเดินทางมาถึงร้านได้สะดวก รวดเร็ว

7.   รายได้ต่อเดือนของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ในส่วนของร้านค้ากว้างขวาง โปร่ง สบายตา แอร์เย็น

8.             จำนวนสมาชิกในครอบครัวของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้าน ผลิตภัณฑ์ ในส่วนของความมีชื่อเสียงของเจ้าของผลิตภัณฑ์

 


Keywords


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ, เครื่องปรับอากาศ

Full Text:

Untitled

References


เกื้อ วงศ์บุญสิน. (2545). ประชากรกับการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษชนก จงใจรักษ์. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องปรับอากาศของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิตตานันท์ สายชล. (2559). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำผลไม้บรรจุกล่องสำเร็จรูปของผู้บริโภค ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด.

เจษฎา คงแดง. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสัปปะรดหอมสุวรรณ ของผู้บริโภค ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด.

ทิพย์ตยา เพ็ชรรัชตานนท์. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด.

ธงชัย สันติวงษ์. (2542). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เพ็ญศิริ โชติพันธ์. (2551). กลยุทธ์การตลาด. อุบลราชธานี: ตระการการพิมพ์.

พันธนันท์ โอกาส. (2552). พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

รติพร มาศงามเมือง. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อกับการให้ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อเครื่องปรับอากาศในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

หทัยชนก แสงโชติ. (2557). การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มน้ำอัดลมรสโคล่าของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การตลาด, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทธิพัฒนา.

ศุภกร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค (ฉบับปรังปรุงแก้ไข) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.บิซิเนสเพรส.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2009). การใช้พลังงานไฟฟ้า. [Electric energy utilization]. In Electric power in Thailand. Bangkok, Thailand: Ministry of Energy.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง