กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม กรุงเทพมหานคร
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมกรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสำนักปฏิบัติธรรมกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) จำนวน ๑๒๓ ชุด แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเซิงสำรวจ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน ๙ รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูล content analysis จากนั้นนำมาสังเคราะห์เชิงพหุวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
๑. จากการวิเคราะห์กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ๕ ด้าน มี ด้านบริหารการจัดการ คือ เจ้าอาวาสหรือเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมมีความสนใจ และเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการ และในการศึกษาปฏิบัติในด้านวิปัสสนาธุระอย่างแท้จริง ด้านอาคารสถานที่ คือ มีห้องน้ำ ห้องสุขาที่สะอาดและเพียงพอ ด้านการการสื่อสารประชาสัมพันธ์ นำเสนอรูปแบบการปฏิบัติ ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นซีดี สื่ออินเทอร์เน็ต ด้านทีมงานพระวิทยากร พระภิกษุสามเณรหรือบุคลากรในสำนักมีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และด้านการวางแผนการดำเนินการ มีการจัดคอร์สการปฏิบัติให้เหมาะสมกับประชาชนทั่วไปที่เข้ามาปฏิบัติธรรม
๒. ผลจากการพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย กลยุทธ์ ๑ การปฏิบัติธรรมตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔ ประกอบด้วนแผนดำเนินการ คือ ๑. สร้างมาตรการด้านการบริหารจัดการให้เกิดความร่วมมือประสานงานระหว่างสำนักปฏิบัติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. นำการปฏิบัติธรรมมาปรับแนวทางการดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานที่ ๓. จัดการประชุมบุคลากรจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก เพื่อเชิญชวนและบอกกำหนดการ ๔. จัดการหลักสูตรการฝึกอบรมพระวิทยากรนานาชาติเพื่อให้ได้ทั้งภาษาอังกฤษและการสอนหลักธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ๕. ดำเนินการจัดอบรมปฏิบัติธรรมให้เพียงพอกับปริมาณพระวิทยากรและผู้ปฏิบัติธรรมทั้งยังมีการสอบอารมณ์อย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ ๒ การสร้างเครือข่ายสำนักปฏิบัติธรรม ประกอบด้วนแผนดำเนินการ คือ ๑. ประสานกับประธานชุมชนละแวกนั้น ๆ เพื่อนำบุคลากรหรือเยาวชนมาปฏิบัติธรรม ๒. จัดสถานที่พักแยกตามเพศ เพิ่มสถานที่จอดรถโดยประสานกับชุมชนขอใช้ที่ส่วนบุคคลหรือที่สาธารณ
๓. ประสานกับประธานชุมชนโดยการจัดประชุม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับสำนักปฏิบัติธรรม ๔. นำพระวิทยากรที่ผ่าการฦกอบรมหลักสูตรนานาชาติ สู่การเป็นผู้นำการปฏิบัติจริง ๕. ประสานกับโรงเรียนขอใช้สถานที่ในการจัดปฏิบัติธรรมกับเด็กนักเรียนโดยสำนักปฏิบัติธรรมจัดพระวิทยากรในการจัดการอบรม กลยุทธ์ที่ ๓ การสร้างเครือข่ายพระวิปัสสนาจารย์ ประกอบด้วยแผนการดำเนินการ คือ ๑. จัดเป็นกรณีพิเศษมีการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียง ใช้สื่อการสอนเทคโนโลยีภาพประกอบนิทานตัวอย่าง ๒. จัดอบรมพระวิปัสสนาจารย์เพื่อเพิ่มบุคลากรทางการฏิบัติธรรม ๓. ใช้สื่อเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และอินเทอเน็ต ในการประชาสัมพันธ์ และเสริมการปฏิบัติเป็นระยะ ๆ ๔. จัดปฏิบัติธรรมกับชาวต่างชาติเดือนละครั้ง ๕. จัดนิมนต์พระวิทยากรที่มีชื่อเสียงมาเป็นวิทยากรการอบรม กลยุทธ์ที่ ๔ การพัฒนาปัญญาศาสนทายาท ประกอบด้วยแผนการดำเนินการ คือ ๑. ประสานกับผู้อำนวยการโรงเรียน นั้น ๆ เพื่อนำนักเรียนหรือเยาวชนมาปฏิบัติธรรม ๒. จัดโครงการอบรมนักเรียนและเยาวชนโดยใช้เงินจากงบประมาณของหน่วยงานรัฐเป็นรายโครงการ ๓. จัดทำสื่อการปฏิบัติที่เหมาะกับเยาวชนในรูปแผ่น ซีดี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนเข้ามาปฏิบัติธรรม ๔. จัดฝึกอบรมสามเณรให้เป็นวิทยากรสืบศาสนทายาท ๕. จัดพระวิทยากรผู้ผ่านการฝึกอบรมใหม่และสามเณรศาสนทายาทเป็นวิทยากรในการอบรมสลับกับพระวิทยากรที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ กลยุทธ์ที่ ๕ การสร้างกัลยาณมิตรแห่งการดำเนินชีวิต ประกอบด้วยแผนการดำเนินการ คือ ๑. จัดการปฏิบัติที่มีระยะสั้น ๆ ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชนในละแวกนั้น ๆ ๒. จัดการปฏิบัติธรรมให้กับพนักงานห้างร้านบริษัทหรือจากภาครัฐที่มีสมาชิกจำนวนมาก ๓. จัดการปฏิบัติธรรมให้เป็นสากลทั้งด้านภาษาและหลักธรรม ๔. จัดการปฏิบัติธรรมโดยรับทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ปฏิบัติกรรมฐานร่วมกัน โดยพระวิทยากรผู้ชำนาญและมีชื่อเสียง ๕. จัดการประชาสัมพันธ์หาเจ้าภาพค่าใช้จ่ายและเชิญชวนท่านเหล่านั้นเข้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
๓. ผลการนำเสนอกลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมกรุงเทพมหานคร พบว่า กลยุทธ์ที่กำหนดสามารถตอบโจทย์ของสำนักปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก และขีดความสามารถของสำนักปฏิบัติธรรม เป็นการกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ กระบวนการทำงาน ความต้องการ และการเลือกระบบที่จะนำมาพัฒนา และใช้เป็นแผนแม่บทหรือแผนหลักของการพัฒนาระบบของสำนักปฏิบัติธรรมเป็นกุศโลบายหรือวิธีการดำเนินงาน ที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
Keywords
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง