การพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ในจังหวัดมหาสารคาม

อมรศักดิ์ สินเหลือ

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนา ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค และ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสม คือ การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการหมู่บ้านของหมู่บ้านต้นแบบ และกลุ่มผู้บริหารสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในโครงการกองทุนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน / ชุมชน และการศึกษาเชิงปริมาณด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 336 ชุด โดยผลการศึกษามีรายละเอียด ดังนี้

ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.16 โดยภาวะผู้นำในที่นี้ คือผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการโครงการ มีความกล้าตัดสินใจ มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จึงทำให้โครงการดำเนินไปด้วยดีและมีประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชน

ปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินโครงการกองทุนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชนขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ พบว่า ปัญหาที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่าเฉลี่ย 3.09 ซึ่งหมายถึง การขาดความร่วมมือ ไม่มีประชาชนเข้าร่วมดำเนิน ขาดความเห็นจากประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

กระบวนการบริหารโครงการกองทุนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชนขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ พบว่า มีขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน ได้แก่ กำหนดผู้รับผิดชอบหน้าที่หลักและการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย วางแผนการดำเนินโครงการ ระดมความเห็นเพื่อคัดเลือกโครงการ ลงมือปฏิบัติตามแผนงาน และควบคุมตรวจสอบการดำเนินงาน

การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ควรนำนโยบายระดับชาติมาเป็นแนวทางการบริหารโครงการของหมู่บ้าน และรัฐบาลควรนำปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มาแก้ไขในการกำหนดนโยบาย สำหรับข้อเสนอแนะเชิงการบริหาร เสนอให้กำหนดกรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง รวมถึงรัฐบาลจัดหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปให้คำแนะนำหรือความรู้แก่ชาวบ้าน สำหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ผู้วิจัยเห็นว่า ควรศึกษาถึงปัจจัยความสำเร็จและปัญหาอุปสรรค เพื่อหาแนวทางสนับสนุนและแก้ไขให้แก่ชาวบ้าน ควรศึกษาการประเมินผลการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ในจังหวัดอื่น ๆ เพื่อนามาเปรียบเทียบผลการศึกษา และควรศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ให้ความรู้ในการดาเนินการหรือกำหนดการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านขนาดเล็ก กลาง ใหญ่


Keywords


โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน, ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่

Full Text:

Untitled

References


ชัยวัฒน์ ชยางกูล, ม.ล. (2549). The Art of Leadership ผู้นำหลายมิติ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทางานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

มยุรี อนุมานราชธน. (2551). การบริหารโครงการ Project Management (พิมพ์ครั้งที่ 6). ปทุมธานี: ดูมายเบส.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2549). ผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน ปี 2547-2548. การศึกษาวิจัย.

รุ่งอรุณ สถิตวัฒน์. (2556). การประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย. มหาสารคาม: ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม.

วงศกร ภู่ทอง และอลงกต ศรีเสน. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2555ข). คำแนะนำการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชม (SML) พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน SML. (2548). คู่มือข้าราชการฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Bennis, Warren and Nanus, Burt. (2007). Leaders. USA: Collins Business Essentials.

Dubrin, Andrew J. (1995). Leadership: Research Findings, Practice, and Skills. USA: Houghton Miffin Company.

Dye, Thomas R. (1995). Understanding Public Policy. (8 th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Fayol, Henry. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Gray, Clifford F. & Larson, Erik W. (2000). Project Management: The Managerial Process. Singapore: McGraw-Hill Inc.

Lasswell, Harold D. & Kaplan, Abraham. (1950). Power and Society. New Heaven: Yale University Press.

Mulgan, Geoff. (2005). People and Participation. London: Involve.

Sharkansky, Ira. (1982). Public Administration: Agencies, Policies, and Politics. W H Freeman & Co (Sd).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง