ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อการให้บริการของบุคลากรกองคลัง เทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ใหม่ เค้าเหลืองชัย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ของผู้รับบริการที่มีต่อความคาดหวังในการให้บริการของบุคลากรกองคลังเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการ ของบุคลากรกองคลังเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผู้วิจัยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย  (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard Deviation) การเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้รับบริการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผู้วิจัยใช้สถิติ  t-test ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมี 2 กลุ่มและทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-Test ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีมากกว่า 2 กลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า

1)  ประชาชนที่มาใช้บริการงานกองคลังเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 36 – 45  ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอาชีพ เกษตรกร หรือรับจ้าง 

2)  ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อการให้บริการของบุคลากรกองคลังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย  คือ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ  ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ด้านสถานที่ที่ให้บริการ ด้านการตั้งราคาการบริการ  ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ด้านการประชาสัมพันธ์การให้บริการ และ ด้านการบริการ ตามลำดับ สำหรับการเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของบุคลากรกองคลังที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ การศึกษา และอาชีพต่างกันมีผลต่อความคาดหวังการให้บริการของบุคลากรกองคลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


Keywords


ความคาดหวัง, การให้บริการ, ผู้ให้บริการ, ผู้รับบริการ, บุคลากรกองคลัง

Full Text:

Untitled

References


กรวิทย์ บัวพันธ์. (2551). การประเมินการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จตุพร เขียวเขิน. (2553). ความคาดหวังของลูกค้าต่อการใช้บริการธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ลำพูน). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จินตนา สืบศรี. (2555). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อการให้บริการจดทะบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยสกลนคร.

ปาณิตา ปรีชาวงษ์. (2555). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาล เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุจิตตรา เจนกาญจนรักษ์. (2553). ความคาดหวังองผู้รับบริการต่อการบริการหอผู้ป่วยในพิเศษ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จังหวัดสมุทรสาคร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อลิสรา รัตน์ไตรแก้ว. (2552). ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานจัดเก็บรายได้จากเทศบาลตำบลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Kotler, Philip. (1994). Marketing, management, Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Peter, J. Paul & James H. Donnelly, Jr. (2004). Marketing management : knowledge and skills. (7thed). Boston: McGraw-Hill, 2004.

Stanton, William J., Etzel, Michael J. & Walker, Bruce J. (1994). Fundamentals of marketing. (10 th ed). Singapore: McGraw-Hill.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง