แนวทางการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

วชิราภรณ์ พวงจินดา

Abstract


ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีกฎหมายมหาชน ได้แก่ ทฤษฎีนิติรัฐ ทฤษฎีอิสรภาพนิยม ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม ทฤษฎีประโยชน์สาธารณะ หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หลักภารกิจพื้นฐานของรัฐ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง แนวคิดในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการทำหน้าที่และจรรยาบรรณทางวิชาชีพของสื่อสิ่งพิมพ์และ หลักความได้สัดส่วน ตลอดจนเพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งในต่างประเทศและของประเทศไทย รวมไปถึงเพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีผลต่อเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ กลไกการควบคุมและจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ และการกำหนดมาตรฐานจรรยาบรรณของสื่อสิ่งพิมพ์ และการกำหนดหลักประกันเพื่อป้องกันการแทรกแซงเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องตามกระบวนการปฏิรูปกฎหมายไทยในอนาคต

จากการศึกษา พบว่า เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีผลต่อเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลจากการทำหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ อีกทั้งปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ และการกำหนดมาตรฐานจรรยาบรรณของสื่อสิ่งพิมพ์ และ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักประกันเพื่อป้องกันการแทรกแซงเสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลก่อให้เกิดการเข้าแทรกแซงหรือเข้าครอบงำการทำหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่าระบอบการปกครองของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง จึงทำให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญไม่สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ แม้ว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะได้บัญญัติให้การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่อาจถือว่าเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์อย่างแท้จริง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย จึงควรนำแนวคิดหรือหลักการตามกฎหมายของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ที่ได้มีการกำหนดกลไกการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีผลต่อเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ บัญญัติไว้เป็นมาตรฐานสากลและมีการดำเนินการในการคุ้มครองเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดขอบเขตบทบัญญัติที่ชัดเจนในเรื่องของหลักการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์เท่าที่จำเป็นไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีผลเกี่ยวเนื่องไปถึงการสร้างมาตรฐานของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ให้เทียบเท่ากับสากล ซึ่งจะส่งผลกระทบให้สภาพบังคับของรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติหน้าที่สนองตอบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน รวมไปถึงการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสืบไป

Keywords


การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, สื่อสิ่งพิมพ์, ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Full Text:

Untitled

References


เกษม ศิริสัมพันธ์. (2513). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดรุณี หิรัญรักษ์. (2542). การสื่อสารมวลชนโลก (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ: เอเชียแปซิฟิก มัลติมีเดีย.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญใหม่. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2549). หลักการใช้อำนาจขององค์กรที่ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

วนิดา แสงสารพันธ์. (2548). หลักกฎหมายสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วิฑูรย์ วิริยะพันธุ์. (2504). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการหนังสือพิมพ์. พระนคร: วิริยะการพิมพ์.

วีระ โลจายะ. (2529). กฏหมายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายตำราและอุปกรณ์การศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ = Fundamental of printed matters. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สุกัญญา ตีระวนิช. (2541). กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดย Basic Law of the Republic of Germany. เสถียร เชยประทับ แปล, ระบบสื่อสารมวลชนเปรียบเทียบ.

คู่มือการสอนวิชากฎหมายสื่อมวลชนและวิชาจริยธรรมสื่อมวลชน. (2556). ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: สถาบันอิศรา.

พีระ จิรโสภณ. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์. ใน เอกสารประกอบการสอน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กฎหมาย

คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789.

ธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.2548.

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548.

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2475.

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540.

พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.

Albert Bleckmann. (1979). StaatsrechtⅡ- Die Grundrecht, 4 Aufl.

Andrew A. Freeman, Brown Women and White. New York: The John Day Company, 1932X.

AN SHAMSI, MASS MEDIA IN NEW WORLD ORDER, First Published in India in 2006.

A.P. d’Entreves, Natural Law. An Introduction to Legal Philosophsy, Hutchinson University Library,London.

A.V.Dicey. (1959). “An Introduction to the study of the law of the Constitution 10 th ed. With an introduction by E.C.S. Wade, London

Freedom of the press. See Press, freedom ofFree exercise clause, Charles C. Haynes, Sam Chaltain, Susan M. Glisson. (1911). First freedoms : a documentary history of First Amendment Rights in America. New York: Oxford University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง