การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรี

ยุทธนา เจริญภักดี

Abstract


[1]การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรี จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 400 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า

1.   ประชาชนในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 31 – 40 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท

2.   การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรี ด้านสถานที่และกิจกรรม และด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนโดยภาพรวม และรายด้าน 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รองลงมา ด้านค่านิยมและวัฒนธรรม ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านที่พักอาศัย ตามลำดับ

3.   ประชาชนในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรีเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยประชาชนในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรีเพศชาย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สูงกว่าประชาชนเพศหญิง

4.             ประชาชนในตำบลหลุมดินจังหวัดราชบุรีที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านการประชาสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยประชาชนในตำบลหลุมดิน จังหวัดราชบุรีที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 25,001 บาทขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่ำกว่าทุกกลุ่มรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

 

 


Keywords


การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Full Text:

Untitled

References


กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2559, 10, จาก http://www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559.pdf.

กระทรวงมหาดไทย. (2551). มาตรการการส่งเสริมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). แผนพัฒนาบริการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรี บริการท่องเที่ยว ประจำปี พ.ศ. 2555-2560. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2559, 10, จาก http://203.131.220.141/msi/wp-content /uploads/ Tourism-and-Travel.

ข่าวสารการท่องเที่ยว. (2555). Tourism expected to pass $2 trillion in GDP. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 10, 2559, จาก www.breakingtravelnews.com/news/article/tourism.

ซุย กำลังงาม, สุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์ และนันท์นภัส อยู่ประยงค์. (2549). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของนักท่องเที่ยวในกุ่มจังหวัดอีสาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ณัฎฐวี จัดแจง. (2548). การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธนธรณ์ ทองหอม. (2554). การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง