มาตรการทางกฎหมายในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารที่ทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นิธิพัฒน์ รัตนบุรี

Abstract


การวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารที่ทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พุทธศักราช 2542 2) เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น  พุทธศักราช 2542 โดยวิธีการปลอดออกจากตำแหน่ง (Recall) 3) เพื่อกำหนดแนวทางและจัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น  พุทธศักราช 2542 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพสังคมและการเมืองไทย 4) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นไทย ในรูปแบบประชาธิปไตยโดยตรง  ผลการวิจัยพบว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 บัญญัติให้การตรวจสอบการดำเนินกิจการทางปกครองของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาสั่งคำขอให้ศาลกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษา ส่วนกฎหมายที่ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พุทธศักราช 2542 ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติตั้งแต่ กำหนดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้เข้าชื่อ หลักเกณฑ์วิธีการเข้าชื่อ การลงคะแนนเสียงถอดถอน การคัดค้าน และบทลงโทษ ปัญหาที่ทำให้การถอดถอนสมาชิกสภาหรือผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ไม่มีประสิทธิภาพ มาตรการทางกฎหมายในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารที่ทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการศึกษาถึงการตรวจสอบบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวข้องกับการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เอกสารรายงานการวิจัย หนังสือ วารสารบทความทางวิชาการ และวิทยานิพนธ์ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมาย หลักเกณฑ์รูปแบบ และวิธีการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ควรให้มีการกำหนดรูปแบบคำร้องถอดถอนให้ชัดเจนรวมถึงหนังสือแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้แทนผู้เข้าชื่อใช้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด คำร้องชักชวนขอรับการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้าชื่อเพื่อจะถอดถอนระบุชื่อ ตำแหน่งของผู้ถูกร้องให้ชัดเจน ควรดำเนินการให้มีการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะเหตุไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปรวมทั้งปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติห้ามมิให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งในช่วงระหว่างเวลาการเข้าชื่อและในระหว่างดำเนินกระบวนการลงคะแนนเสียงถอดถอนและเพิ่มเติมบทลงโทษทางการเมือง เนื่องจากรูปแบบการถอดถอน“Recall” เป็นการลงคะแนนเสียงถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ หากสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นยื่นหนังสือลาออกต่อผู้กำกับดูแล สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงนับแต่วันยื่นหนังสือลาออก ปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติ ห้ามมิให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ผู้ถูกร้อง)ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างกระบวนการลงคะแนนเสียงถอดถอน รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นชี้แจงข้อกล่าวหามากขึ้นโดยการการพบปะพูดคุย ซักถาม โต้ตอบปัญหารวมทั้งเพิ่มบทบัญญัติบทลงโทษให้มากขึ้นในการกระทำความผิดหรือทุจริตของสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นและให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในทุกกิจกรรม

Keywords


การวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารที่ทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้

Full Text:

Untitled

References


เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2545). แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

การปกครองท้องถิ่นไทยหลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (2543). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2535). ความรู้เบื้องต้นกับกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2545). การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่สมดุล. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การกระจายอำนาจและส่งเสริมอำนาจอิสระของหน่วยการปกครองท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์. (2546). หลักรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2544). การปกครองส่วนท้องถิ่นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2546). ภาพรวมของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนต่าง ๆ. (2538). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

บุญเสริม นาคสาร. (2548). การประชุมวิชาการผลในทางปฏิบัติของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประยูร กาญจนดุล. (2530). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประหยัด หงส์ทองคำ. (2535). การปกครองท้องถิ่นไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2542). การปกครองท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินส์โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น.

การเลือกตั้งท้องถิ่นฟิลิปปินส์. (2537). กรุงเทพฯ: สำนักงาน กพ.

พรชัย เลื่อนฉวี. (2544). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพโรจน์ ชัยนาม. (2524). สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญของต่างประเทศกับระบอบการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โภคิน พลกุล. (2529). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ: พลชัย.

เมธา สุดบรรทัด. (2517). ประชาธิปไตยและหน้าที่ของผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพ: บพิธการพิมพ์.

วนิดา แสงสารพันธ์. (2548). หลักรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วัชรา ไชยสาร. (2541). ระบบการเลือกตั้งกับการเลือกตั้งไทยยุคใหม่. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง