ทัศนคติของสมาชิกต่อการรับบริการด้านสินเชื่อ ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำกัด ในเขตจังหวัดอุดรธานี

ชญาดา มูลพานิชย์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของสมาชิกต่อการรับบริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำกัด ในเขตจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านประชาสัมพันธ์ และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของสมาชิกต่อการรับบริการสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิก ผู้ให้ข้อมูล คือสมาชิกที่ขอรับบริการสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำกัด ในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน  341 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ประเภทเลือกตอบ  (Check List) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ  สถิติที่ใช้ได้แก่  ความถี่  (Frequencies) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย  (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) การเปรียบเทียบทัศนคติของสมาชิก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ผู้วิจัยใช้สถิติ  t-test  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  .05 ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมี 2 กลุ่มและทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One  Way  ANOVA) โดยใช้สถิติ F-Test ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีมากกว่า 2 กลุ่ม เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการศึกษาพบว่า 

1)  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 32.8 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.5 ประเภทกลุ่มของผู้มารับบริการ เป็นกลุ่มลูกจ้างประจำ คิดเป็นร้อยละ 57.2 รายได้  10,001 - 20,000  บาท คิดเป็นร้อยละ 44.3 ระยะเวลาการเป็นสมาชิก มากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.2 

2)            ทัศนคติของสมาชิกต่อการรับบริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี จำกัด ในเขตจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับตามระดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้  ด้านบุคลากร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ตามลำดับ ด้านบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ไม่ขอสิ่งตอบแทน ไม่รับสินบน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่ตั้งของสหกรณ์เดินทางไปมาสะดวก ด้านประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริการข้อมูลข่าวสารด้านสินเชื่อแก่สมาชิก ด้านกระบวนการให้บริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดลำดับ ก่อน – หลัง ในการให้บริการแก่สมาชิก ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การค้ำประกันวงเงินกู้โดยใช้หุ้น

Keywords


สหกรณ์ออมทรัพย์,สาธารณสุข

Full Text:

Untitled

References


กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2557). แผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาสหกรณ์อย่างยั่งยืนระยะยาว ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐). คณะทางานจัดทาแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาสหกรณ์ อย่างยั่งยืนระยะยาว ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐).

กัญชพร พรมปัญญา. (2553). ทัศนคติของลูกค้าธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กัลยา แจ่มแจ้ง. (2549). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ธุรกิจศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จงรัก ยังพลขันธ์. (2553). คุณภาพการให้บริการธุรกิจสินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรจตุรพักตรพิมาน จำกัด อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, อุบลรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จันมณี จันทร์งาม. (2551). ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริการของสหกรณ์ออมทรัพย์กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑามาศ จิตต์กระโทก. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานประชาสัมพันธ์สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมาจำกัด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริการการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง