ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชี ของเจ้าหน้าที่กองคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย

เกศวรางค์ ยิ่งยง

Abstract


[1]การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชีของเจ้าหน้าที่กองคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ของกองคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองคาย  135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการ (T-Test) สำหรับตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มและการหาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression)               

ผลการศึกษาพบว่า 

1.   ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี  ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงาน ระยะเวลา 6-10 ปี การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชี ของเจ้าหน้าที่กองคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย  พบว่า  อายุ และประสบการณ์ แตกต่างกัน  เพศและระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน

2.   จากการศึกษาระดับปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชี ของเจ้าหน้าที่กองคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมากและปานกลางเท่ากัน เมื่อวิเคราะห์ผลต่อประสิทธิภาพ พบว่า ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานบัญชี ทั้ง 5 ด้าน คือ ความรู้ การฝึกอบรม ทักษะและความชำนาญ ประสบการณ์และความผูกพันต่อองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชี ของเจ้าหน้าที่กองคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองคายอยู่ในระดับค่อนข้างมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05, 0.01, 0.001

 

Keywords


ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงานการคลัง

Full Text:

Untitled

References


กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. (2543). ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการบันทึกบัญชีการจัดทำทะเบียนและรายงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ครรชิด ชโลมธรรังสี. (2542). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสุขาภิบาล. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2538). การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพฯ: รักอ่าน.

ธนกร กรวัชเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธันย์ชนก ธิติพงศ์วิวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

พรพรรณ จันทรสุข. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัด กรมบัญชีกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การบัญชี, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ภูวนัย เกษบุญชู. (2550). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองทัพเรือ : ศึกษา กรณีข้าราชการสังกัดกองทัพเรือภาคที่ 1. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชุดา จิวประพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ปฏิบัติการ เอกสารสัญญาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).‬ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย สายธุรการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและกาจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

อนัญญา ผมทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อุไรวรรณ โปร่งมาก. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง