พฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t -test ANOVA (F-test) และสถิติ Pearson Chi-square
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริษัทเอกชนที่มีการออมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 26 – 35 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีพฤติกรรมการออมในส่วนใหญ่ พบว่าจะฝากเงินกับสถาบันการเงิน มีจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 3,001 – 5,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานบริษัทเอกชน ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านลักษณะการออม ด้านผลตอบแทน และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานบริษัทเอกชนได้แก่ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการออม ส่วนใหญ่นั้นจะออมไว้เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ออมเพื่อซื้อสินทรัพย์ ออมเผื่อเกษียณอายุ และออมเพื่อลงทุนตามลำดับKeywords
Full Text:
UntitledReferences
กฤตภาส เลิศสงคราม. (2555). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตรการพัฒนามนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จงรัก บุญแสง. (2553). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ ออมทรัพย์สาธารณสุขอุตรดิตถ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑาธิบดิ์ ฤกษ์สันทัต. (2555). เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนและข้าราชการในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชูรีรัตน์ คงเรือง และประภาษิต อินสุวรรณ. (2552). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่กำหนดสัดส่วนการออมของครัวเรือน กรณีศึกษา หมู่ที่ 7 ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง.
เดือนรุ่ง ช่วยเรือน. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของภาคครัวเรือนในชุมชนเกาะเปียะ จังหวัดตรัง. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นันทการ นันทวิสัย. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบการภาวการณ์ออมของครัวเรือนในภาคเกษตรและ ภาคเกษตร. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตร์การจัดการ, มหาวิทยาลัยศรินทรวิโรฒ.
รุ่งนภา ศรีธัญญะโชติ. (2550). พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายอนาคตของประชาชนกรณีศึกษาผู้บริหารศูนย์การขายบริษัทประกันชีวิตจำกัด. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรเวศม์ สุวรรณระดา และสมประวิณ มันประเสริฐ. (2551). ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการออมของผู้ที่มีงานทำในประเทศไทย จากการศึกษาข้อมูลสำรวจในระดับจุลภาค.
วันเพ็ญ ปกรณ์ประเสริฐ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของพนักงานในอุตสาหกรรมรถยนต์นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองวารสาร. เศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ.
ศิรินุช อินละคร. (2548). การเงินบุคคล. กรงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศุภวรรณ มณีพันธุ์วงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานธนาคารในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สุขใจ น้ำผุด. (2545). ยุทธ์การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาพร คล้ายเกตุ และสมพงษ์ มหิงสพันธุ์. (2550). ปัจจัยที่กำหนดการออมของครัวเรือนเกษตรในประเทศไทย. ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สุวีณา กลัดเกิด. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมของพนักโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง