การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่งค่ายเพลงอาร์สยาม ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

บุณยนุช สุทธิอาจ

Abstract


        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเภทสื่อดิจิทัลที่ใช้เพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่ง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่ง และ 3) วิธีการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่งค่ายเพลงอาร์สยาม ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1)ผู้บริหารฝ่ายการตลาดค่ายเพลงอาร์สยาม 2)บุคลากรฝ่ายอำนวยการผลิตเพลง 3)บุคลากรฝ่ายสื่อดิจิทัล 4)บุคลากรฝ่ายโปรโมเตอร์ 5)บุคลากรฝ่ายสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม (ช่องสบายดีทีวี) และ6)บุคลากรฝ่ายสื่อวิทยุกระจายเสียง (FM 88.50 สบายดีเรดิโอ) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จากตำแหน่งบริหารและมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่งค่ายเพลงอาร์สยาม เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์

        ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลที่ใช้ในการส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่งค่ายเพลงอาร์สยาม ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) มี 4 ประเภท ได้แก่  (1) Mobile media (2) Online media (3) สถานี โทรทัศน์ดาวเทียมช่องสบายดีทีวี ทั้งที่รับชมผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ และ (4) สถานีวิทยุกระจายเสียง FM 88.5 สบายดีเรดิโอ ที่รับฟังผ่านคลื่นวิทยุ และเว็บไซต์ 2)ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่งค่ายเพลงอาร์สยาม ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) มีปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้ฟัง (2) ด้านเศรษฐกิจ (3) ด้านคู่แข่งทางธุรกิจ และ(4) ด้านความต้องการเป็นผู้นำสื่ออย่างต่อเนื่อง และ3)วิธีการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงอาร์สยามในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย วิธีการโฆษณา วิธีการจัดกิจกรรมพิเศษ และวิธีการประชาสัมพันธ์




Keywords


สื่อดิจิทัล, การส่งเสริมการตลาด, เพลงลูกทุ่ง, ค่ายเพลงอาร์สยาม

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง