คุณภาพบริการในการรับรู้ของผู้ป่วยที่มีต่อห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

กรรณาภรณ์ บริสุทธิยางกูร

Abstract


           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณภาพบริการและความสัมพันธ์ของมิติคุณภาพบริการของผู้ป่วยที่มีต่อห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์ รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ป่วยที่มารับบริการตามคุณลักษณะทางเศรษฐกิจและประชากร และปัจจัยทางสุขภาพและการเข้ารับบริการสุขภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจำนวน 268 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามช่วงเวลา (Consecutive Sampling) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ ที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพบริการในการรับรู้ของผู้ป่วยที่มีต่อห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์อยู่ในระดับมาก (= 4.490.37) โดยผู้ป่วยรับรู้คุณภาพบริการในด้านมิติความต่อเนื่องมากที่สุด (= 4.890.25) รองลงมาได้แก่ มิติความมั่นใจ (= 4.550.46) มิติความพึงพอใจ (= 4.340.52) และมิติการสื่อสาร (= 4.170.67) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการโดยรวมของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ สถานะทางสุขภาพ และการได้รับการบอกกล่าวถึงชื่อเสียง (p<.05) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์มีการให้บริการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี และควรพัฒนาพฤติกรรมการบริการที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเมื่อต้องให้การบริการกับผู้ป่วยที่รับรู้สถานะทางสุขภาพว่าไม่ดีและในผู้ป่วยหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาเหล่านั้นไม่ตระหนักถึงการบริการที่ได้รับ


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.