ศึกษารูปแบบการรักษาโรคลมปะกังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

เนตรนภา ย่องหิ้น, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, ปริญญา ทวีชัยการ, เวณิกา ทวีชัยการ, กัญญา ภู่ระหงษ์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ศึกษาเอกสาร (Document research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของโรค รูปแบบการรักษาโรคลมปะกังและสามารถสืบสาน อนุรักษ์ และเผยแพร่การรักษาโรคลมปะกังตามหลักและแนวทางของแพทย์แผนไทย โดยโรคลมปะกังหรือสันนิบาตลมปะกัง เกิดจากลมอุทังคมาวาตาพิการทำให้มีอาการปวดศีรษะ ลมปะกังตามตําราแพทย์แผนไทยโบราณ จะมีอาการปวดในช่วงเช้า ปวดกระบอกตา ตาพร่า ตามัว ลมปะกังเป็นโรคลมชนิดหนึ่ง ในกลุ่มลมกองละเอียด “เป็นลมระคนด้วยกําเดา” ตีขึ้นเบื้องสูงถึงศีรษะ ลมปะกังเกิดเป็นลมร้อนคือเกิดจากลมและกําเดา ลมร้อนที่ตีขึ้นเบื้องสูงเกิดเป็นไอร้อนกระจายและเคลื่อนขึ้นที่สูง(ศีรษะ) เมื่อลมร้อนตีขึ้นศีรษะก็จะหาทางออก ทำให้เกิดอาการหูอื้อ ตาร้อนผ่าว จมูกแห้ง ลิ้นแห้ง แต่ถ้าหากเกิดการติดขัดไม่ออกหรือออกน้อย จะตีกลับไปที่ศีรษะ ทำให้ปวดศีรษะ มึนงง หนักศีรษะ ตาลายวิงเวียน ผะอืดผะอม หากเกิดจากเส้นอิทามักจะเกิดด้านซ้าย หากเกิดจากเส้นปิงคลามักจะเกิดด้านขวา วิธีการรักษาตามแนวทางของแพทย์แผนไทย ได้แก่ แนวทางการรักษาทางเวชกรรมแผนไทย ตาม คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยให้ปรับแก้กองพิกัดสมุฏฐาน คัมภีร์ชวดาร กล่าวถึง ให้แก้ที่ลมอันมีพิษ อันว่าลมอันมีพิษนั้น มี ๖ จําพวก คัมภีร์โรคนิทาน แก้ไขธาตุที่กำเริบ หย่อน พิการ แนวทางการรักษาทางเภสัชกรรม แพทย์จะจ่ายยาสมุนไพร ยาตำรับหรือยาต้มเฉพาะบุคคล เพื่อปรับสมดุลของธาตุ จะจ่ายยาที่มีรสสุขุมหอม หรือสุขุมร้อน มีสรรพคุณในการกระจายเลือดลม แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ ยาแก้ลมปะกัง,.ยานัตถุ์ลมปะกัง, พระตําราหลวงเป็นยาสุม,.ยาแก้ลมปะกัง , ยาชำระปถวี , ยานัตถุ์ตำราหลวง , ยาพอกแก้ปวดศีรษะลมปะกัง , ยาหอมเทพจิตร , ยากลุ่มขับปัสสาวะ เพื่อลดความดันโลหิตและระบายความร้อนออกทางปัสสาวะ แนวทางการรักษาทางหัตถเวชกรรมแผนไทย(นวดแบบราชสำนัก) การทำหัตถบำบัดรักษาลมปะกังชนิดไม่อาเจียน , การทำหัตถบำบัดรักษาลมปะกังชนิดอาเจียน , ประคบความร้อนชื้น , งดอาหารแสลง , ท่าบริหาร

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.