การศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมพายเห็ด

อารยา มุสิกา

Abstract


การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสูตรการแปรรูปขนมพายจากเห็ดนางรมทั้ง 4 สูตร และเพื่อศึกษาวิธีการแปรรูปขนมพายเห็ด แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า SD ส่วนตอนที่ 2 ใช้แผนการทดลองแบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 (Treatment) จำนวน 50 ซ้ำ (Replication) ได้แก่ T1 : ขนมพายตามท้องตลาด T2 : ขนมพายไส้เห็ดนางรม T3 : ขนมพายไส้สับปะรดผสมเห็ดนางรม T4: ขนมพายไส้ผัดผงกะหรี่ผสมเห็ดนางรม ผลการทดลองพบว่า ตอนที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 15-20 ร้อยละ 40 ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นนักศึกษา ร้อยละ 60 ไม่เคยรับประทานขนมพายเห็ดนางรม ร้อยละ 76 และร้อยละ 37.5 ให้พายเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากที่สุด ตอนที่ 2 ผลการตอบสอบถามลักษณะปัจจัยคุณภาพ ด้านสี ความกรอบ ความหวาน ความเค็ม กลิ่น และรสชาติโดยรวมพบว่า ด้านสีของขนมพายที่ผู้ประเมินมีความพึ่งพอใจมากที่สุด คือ T1 : ขนมพายตามท้องตลาด (4.44/5) ด้านความกรอบของขนมพายที่ผู้ประเมินมีความพึ่งพอใจมากที่สุด คือ T1 : ขนมพายตามท้องตลาด (4.42/5) ด้านความหวานของขนมพายที่ผู้ประเมินมีความพึ่งพอใจมากที่สุด คือ T3 : ขนมพายไส้สับปะรดผสมเห็ดนางรม (3.63/5) ด้านความเค็มของขนมพายที่ผู้ประเมินมีความพึ่งพอใจมากที่สุด คือ T4: ขนมพายไส้ผัดผงกะหรี่ผสมเห็ดนางรม (3.18/5) กลิ่นของขนมพายที่ผู้ประเมินมีความพึ่งพอใจมากที่สุด คือ T1 : ขนมพายตามท้องตลาด (4.42/5) และรสชาติโดยรวมของขนมพายที่ผู้ประเมินมีความพึ่งพอใจมากที่สุด คือ T3 : ขนมพายไส้สับปะรดผสมเห็ดนางรม (4.24/5) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ด้านความหวาน และความเค็ม ผู้ตอบแบบสอบถาม ชอบขนมพายไส้สับปะรดผสมเห็ดนางรมมากกว่าขนมพายไส้เห็ดสูตรอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.