พื้นที่จังหวัดนครปฐมกับแนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น

วันวิสาข์ นาถนิติวิทยา, วรวิทย์ จินดาพล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐม 4) เพื่อนำเสนอ         แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยในรูปแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 407 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบความแตกต่าง สถิติหาความสัมพันธ์และสถิติพหุเชิงถดถอย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก จากผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นักวิชาการและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 25 คน และใช้แบบร่วมแสดงความคิดเห็นในการดำเนินการสนทนากลุ่มจากผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นักวิชาการและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐมพบปัญหา ได้แก่ ปัญหาด้านทรัพยากร ปัญหาด้านกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ โดยภาครัฐ และ ปัญหาด้านการประกอบอาชีพของชุมชน 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐมในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับ เห็นด้วยปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายกรณีพบว่าความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ได้แก่ ด้านการเมือง และด้านการศึกษา ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ได้แก่ ด้านความพึงพอใจ ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์กร/ท้องถิ่น ด้านกระบวนการบริการ ด้านสังคม ด้านตัวแบบการมีส่วนร่วม ด้านรูปแบบนโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจ ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐม พบว่า ปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลของผู้มีส่วนร่วมที่แตกต่างกันมีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ยกเว้น เพศ อาชีพ 4) แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดนครปฐมพบว่า ภาครัฐควรดำเนินการสนับสนุนปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้านกระบวนการบริหาร ด้านตัวแบบการมีส่วนร่วม ด้านสังคม และด้านการศึกษา ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจต่อการบริหารนโยบายสาธารณะในระดับท้องถิ่นเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.