ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อสมบัติทางเคมีของดิน อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

สุทธยศ ยิ้มพูลทรัพย์, มีนา นวลชื่น

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อสมบัติทางเคมีของดิน ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) การนำไฟฟ้า (EC) อินทรียวัตถุ (OM) แอมโมเนียม (NH4+) ไนเตรท (NO3-) และฟอสเฟต (PO43-) ต.ทางพระ และ ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) มีชุดการทดลองทั้งหมด 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ โดยการผสมปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อดิน 5 อัตราส่วนโดยน้ำหนัก ได้แก่ 0 : 100, 10 : 90, 20 : 80,      30 : 70 และ 40 : 60 กรัม ในดินทั้ง 2 พื้นที่ และหมักทิ้งไว้เป็นเวลา 14 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่แตกต่างกันส่งผลให้สมบัติของดินทางเคมีแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05)         โดยอัตราส่วนของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 - 40 ส่งผลให้ดิน ต.ทางพระ มีแนวโน้มเป็นกรดปานกลาง–กรดจัด ในขณะที่อัตราส่วนของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 - 40 ส่งผลให้ดิน       ต.รำมะสัก มีแนวโน้มเป็นกรดเล็กน้อย – กรดปานกลาง และทุกกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน พบว่า    ไม่ทำให้ดินเค็ม มีปริมาณ OM อยู่ในระดับที่สูง แต่ปริมาณ PO43- ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ พบว่าปริมาณ NH4+ และ NO3- มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดินที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.