การจำแนกชนิดของหินตะกอนโดยวิธีการเรืองรังสีเอ็กซ์และอายุทางธรณีวิทยาของซากดึกดำบรรพ์ในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล

บรรจง ทองสร้าง

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของหินตะกอนและช่วงเวลาของซากดึกดำบรรพ์โดยกระบวนการเรื่องรังสีเอกซ์ของหินตะกอนบริเวณอ่าวบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล ผลการศึกษาพบว่า หินตะกอนประกอบด้วยหินปูนออร์โดวิเชียนและโดโลไมต์ ที่เกิดในช่วงที่บรรยากาศโลกมีความอบอุ่นที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่างช่วงบรรยากาศหนาวเย็น พบซากดึกดำบรรพ์กลุ่มเซฟาโลพอดที่เกิดในยุคออร์โดวิเชียนตอนต้นและมีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของซากดึกดำบรรพ์ในปริมาณมากทำให้สามารถรักษาโครงสร้างไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากสมบัติของธาตุซิลิกา และการที่หินปูนกับโดโลไมต์วางอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล  แสดงให้เห็นว่าหินทั้งสองชนิดเกิดการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์กันในแนวดิ่งเนื่องจากแผ่นท้องทะเลอินเดียมุดตัวลงใต้แผ่นทวีป และมีความเป็นไปได้ว่ามีหินปูนที่เกิดในตอนปลายของมหายุคพาลีโอโซอิกในบริเวณเดียวกันด้วย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.