การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยใช้ KOH/NaY/NaOH เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรก การวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยา ได้แก่ การหาขนาดผลึก พื้นที่ผิวจำเพาะ ขนาดรูพรุน เป็นต้น และส่วนที่สอง การศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ต่อการผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ อัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันปาล์มต่อเมทานอล ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยา เวลาในการทำปฏิกิริยา จากผลการทดลองพบว่าค่าพื้นที่ผิวจำเพาะและขนาดรูพรุนของซีโอไลต์วายมีค่าเท่ากับ 512.48 มิลลิกรัม/กรัม และ 7.64 นาโนเมตร ตามลำดับ เมื่อเพิ่มปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา % KOH/NaY ทำให้ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะและขนาดรูพรุนลดลง เมื่ออัตราส่วนของโมลของน้ำมันปาล์มต่อเมทานอลเพิ่มขึ้นทำให้ไบโอดีเซลมีค่ามากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มปริมาณที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดการแยกชั้นของกลีเซอรอลจากเอสเทอร์ได้ยากและอาจทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาเสื่อมสภาพ การเพิ่มปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาที่มากเกินพอ จะทำให้ความหนืดของสารตั้งต้นและตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ทำให้มีปัญหาต่อการผสมและกวนในระหว่างกระบวนการ Transesterification และการเพิ่มเวลาทำปฏิกิริยามากขึ้นทำให้ไบโอดีเซลมีปริมาณเพิ่มขึ้น อัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันปาล์มต่อเมทานอลที่เหมาะสมในการผลิตไบโอดีเซล คือ 1: 15 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่ 2% KOH/NaY และเวลาในการทำปฏิกิริยา 6 ชั่วโมง ผลผลิตไบโอดีเซลที่ได้ คือ 99.8%
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.