การพัฒนายางพาราเป็นวัสดุดูดซับน้ำมันด้วยการดัดแปลงพื้นผิวแบบเข็มนาโนของซิงค์ออกไซด์

ภัทรวดี คล้ายคลึง, จักรกฤษณ์ มหัจฉริยวงศ์

Abstract


การปนเปื้อนน้ำมันในแหล่งน้ำส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากครัวเรือน การขนส่งและอุตสาหกรรม การจัดการด้วยวัสดุดูดซับทางการค้าอาจก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกตามมา ยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยสามารถผลิตเป็นยางโฟมที่มีสมบัติความหยืดหยุ่นสูงได้ งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการนำยางพาราซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติมาพัฒนาเพื่อทดแทนการใช้วัสดุดูดซับน้ำมันทางการค้าที่เป็นใยสังเคราะห์พอลีเมอร์ ทำการปรับสูตรผสมยางโฟมเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับด้วยสารเพิ่มฟอง โพแทสเซียม โอลิเอต ในสัดส่วน 1.5, 3, 5 และ 10phr และทำการดัดแปลงพื้นผิวด้วยเข็มนาโนซิงค์ออกไซด์ และสารละลายโดเดเคนไธออล เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับน้ำมันและลดการดูดซับน้ำ พบว่ายางโฟมดัดแปลงพื้นผิวมีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันพืชและน้ำมันเครื่องเป็น 6.24 และ 6.23 กรัม/กรัมยางโฟม ซึ่งสูงกว่ายางโฟมที่ไม่ได้ดัดแปลงพื้นผิวคิดเป็นร้อยละ 68.06 และ 48.48 ตามลำดับ จากการทดสอบประสิทธิภาพการใช้ซ้ำ 5 ครั้ง พบว่ายางโฟมดัดแปลงพื้นผิวยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับสูง เนื่องจากยางโฟมดัดแปลงพื้นผิวมีความไม่ชอบน้ำ มีความยืดหยุ่นและรูพรุนมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับวัสดุดูดซับทางการค้า

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.