ประสิทธิภาพของการเรียนรูปแบบออนไลน์

กุลจิรา จีนาภักดิ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเรียนรูปแบบออนไลน์ผ่านวิธีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างรูปแบบการเรียนออนไลน์และการเรียนแบบปกติในห้องเรียนกวดวิชา รายวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 2 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่สอง 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 2 กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 90 คน ที่เรียนพิเศษวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 2 จากโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่ง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง และใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม ซึ่งเรียนพิเศษแบบปกติจำนวน 45 คนและกลุ่มทดลอง ซึ่งเรียนพิเศษรูปแบบออนไลน์ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 2 โดยใช้การเรียนแบบออนไลน์และการเรียนแบบปกติ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบ ได้แก่ Independent samples t-test และสมการถดถอย (Regression analysis) ผลการวิจัยระบุว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากสองกลุ่มการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กลุ่มการเรียนแบบปกติในห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มการเรียนแบบออนไลน์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ รูปแบบการเรียนพิเศษ เกรดเฉลี่ยวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 1 และจำนวนครั้งที่นักศึกษาเข้าเรียนในห้องเรียนในหนึ่งภาคการศึกษา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.