การปรับตัวของตัวละครช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในละครโทรทัศน์ไทย

ZHANG JIANFANG, จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ

Abstract


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของตัวละครช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในละครโทรทัศน์ไทย จำนวน3 เรื่อง ได้แก่ สี่แผ่นดินคู่กรรมและ แหวนทองเหลือง

ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวของตัวละครในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มี 2 ด้านใหญ่ คือ การปรับตัวภายนอก และการปรับตัวภายใน การปรับตัวภายนอก เป็นการปรับตัวด้านที่อยู่อาศัย โดยการสร้างหลุมหลบภัยขึ้นและการย้ายไปอยู่ที่อื่น การแต่งกาย ตัวละครต้องสวมหมวกเวลาออกจากบ้าน และมารยาททางสังคม มีการปรับตัวใช้คำ “สวัสดี” ทักทายเมื่อพบกันหรือจากลากันทุกครั้ง และเลิกกินหมากค้าขายหมาก
การปรับตัวภายนอกนี้มีสาเหตุสำคัญคือเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและการปฏิบัติตนตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนการปรับตัวภายใน เป็นการปรับตัวด้านความคิดและจิตใจให้เข้มแข็งพร้อมสู้กับภัยสงครามและความยากลำบากที่เป็นผลอันเนื่องมาจากสงคราม และตัวละครบางกลุ่มยังมีการปรับความคิดจากที่เคยยอมรับ
ชาวญี่ปุ่นเป็นมิตรกลายเป็นความรู้สึกเกลียดและต่อต้าน การปรับตัวภายในนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สำคัญคือการต่อต้านญี่ปุ่นและการเกิดขบวนการเสรีไทย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.