ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

เพชรรัตน์ รงควงศ์, อนุสรา สุวรรณวงศ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล (หญิงล้วน) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนผสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล (หญิงล้วน)       เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล (หญิงล้วน) เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 4,509 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล (หญิงล้วน) เขตบางรัก จํานวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้าน ได้แก่ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการบริหารและการดําเนินงาน ด้านหลักสูตรและสื่อการสอน
ด้านกายภาพ ด้านทําเลที่ตั้ง ด้านค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และด้านประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ (2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับส่วนผสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล (ด้านรายได้) กับส่วนผสมทางการตลาดส่งผลต่อการเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล (หญิงล้วน) เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพียงด้านเดียว ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล (ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ) มีความสัมพันธ์กับส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมาตรฐานสากล (หญิงล้วน) เขต
บางรัก กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.