การพัฒนากระดาษรีหน้า 1 ไซเคิลเพื่อผลิตเชือกสำหรับงานประดิษฐ์

กฤษณะ โพธิเวส, สุรชัย ขันแก้ว

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกระดาษรีไซเคิลเพื่อการผลิตเชือกสำหรับงานประดิษฐ์ โดยปัจจัยนี้ทำการศึกษา มี 2 ปัจจัยคือ หาอัตราส่วนระหว่าง กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษคราฟท์ ของเยื่อกระดาษต่อปอสา โดยแปรเป็น 4 ระดับ คือ 100:0 80:20 60:40 50:50ตามลำดับ ที่มีพื้นที่ของกระดาษขนาด 91.56 ตารางเซนติเมตร (เป็นวงกลมของกรองกรวยบุชเนอร์) ตามมาตรฐานกระดาษ 80 แกรม และทดสอบสมบัติทางกายภาพของกระดาษรีไซเคิลทั้ง 3 ชนิดคือ น้ำหนักมาตรฐาน ความหนา ความต้านทานแรงดันทะลุ และความต้านทานแรงฉีกขาดของกระดาษรีไซเคิลเพื่อคัดเลือกสิ่งทดลองที่ดีที่สุดของแต่ละกระดาษมาปั่นเป็นเชือกกระดาษ วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จะได้สิ่งทดลองทั้งหมด 12 สิ่งทดลองโดยแบ่งเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ 4 สิ่งทดลอง กระดาษพิมพ์เขียน 4 สิ่งทดลอง และกระดาษคราฟท์ 4 สิ่งทดลอง ผลการวิจัยพบว่าทั้ง 4 สิ่งทดลองของกระดาษหนังสือพิมพ์ ด้านน้ำหนักมาตรฐาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่น้ำหนักกระดาษอยุ่ที่ 80 แกรม ด้านความหนาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยที่ความหนาของกระดาษ A4 อยู่ที่ 0.24 มิลลิเมตร และความต้านทานแรงฉีกขาดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยความต้านทานแรงดันทะลุของกระดาษหนังสือพิมพ์สิ่งทดลองที่ 4 มีค่ามากที่สุดคือ 2.97±0.11 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ผลการวิจัยพบว่าทั้ง 4 สิ่งทดลองของสิ่งทดลองของกระดาษพิมพ์เขียนรีไซเคิล ด้านน้ำหนักพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่น้ำหนักกระดาษอยุ่ที่ 80 แกรม ความหนาของกระดาษพิมพ์เขียนรีไซเคิล ผลการวิจัยพบว่าสิ่งทดลองที่ 3 มีค่าความหนามากที่สุดคือ0.29±0.09มิลลิเมตร ความต้านทานแรงดันทะลุของกระดาษพิมพ์เขียนรีไซเคิล มีค่ามากทีสุดคือ2.0±0.17 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และความต้านแรงฉีกขาดของกระดาษพิมพ์เขียนรีไซเคิล มีค่ามากที่สุดคือ 530.00±20.82 มิลลินิวตัน ผลการวิจัยพบว่าทั้ง 4 สิ่งทดลองของกระดาษคราฟท์พบว่า ด้านน้ำหนักมาตรฐานทางสถิติ โดยที่น้ำหนักกระดาษอยุ่ที่ 80 แกรม และความหนา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยความหนาของกระดาษ A4 อยู่ที่ 0.24 มิลลิเมตร ความต้านทานแรงดันทะลุของกระดาษคราฟท์สิ่งทดลองที่ 3 มีค่ามากที่สุดคือ 2.40±0.43 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรความต้านทานแรงฉีกขาด มีค่ามากที่สุดคือ 536.67±11.55 มิลลินิวตัน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.