ประสิทธิผลของแผ่นแปะสมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
Abstract
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ อันก่อให้เกิดผู้สูงอายุ ทุพพลภาพ ส่งผลผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน การส่งเสริมการใช้เจลสมุนไพรเพื่อรักษาอาการโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งการพัฒนาสมุนไพรไทยฤทธิ์ร้อนเป็นเจลช่วยบรรเทาอาการปวด เวลาเดิน ลุกนั่ง ยืดเหยียดเข่าไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับการก้าวสู่สังคมยุคแห่งนวัตกรรม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยมีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (Single Subject Research ) ทดสอบ ก่อน- หลัง (One-group Pretest-Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแผ่นแปะสมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยแล้วว่าเป็นโรคจับโป่งแห้ง จำนวน 150 คน เก็บข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างให้แผ่นแปะสมุนไพรทุกวัน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 15 วัน โดยประเมิน ระดับความเจ็บปวดด้วยเครื่องมือ visual rating scales for pain ประเมิน 3 วัน/ ครั้ง ทั้งหมด 6 ครั้ง และวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าด้วยเครื่องมือ goniometer วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และ วิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้แผ่นแปะสมุนไพรพอกเข่าโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีเพศหญิงและเพศชายในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-72 ปี คิดเป็นร้อยละ 90.2 ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไปมากสุด คิดเป็นร้อยละ 31.4 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 5,001 – 8,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.7 และส่วนใหญ่พบว่ามีโรคประจำตัว ร้อยละ 64.4 ได้แก่ ไขมันในเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมอง ประสิทธิผลของแผ่นแปะสมุนไพร มีผลต่อการลดระดับความเจ็บปวด โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนการทดลอง (ครั้งที่ 1 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.72) กับหลังการทดลองอีก 5 ครั้ง (ครั้งที่ 2 – ครั้งที่ 6) พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดลงลงอย่างเนื่องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.35, 5.71, 4.31, 3.86 และ 3.25 ตามลำดับ และระดับองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 113.91 กับหลังการทดลองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 117.61พบว่ามีองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.