กระบวนการเรียนรู้ของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ

มนกนก ภาณุสิทธิกร, สุรวิทย์ อัสสพันธุ์, ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ทั้งในแง่ของ แรงจูงใจในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ เนื้อหาการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และศึกษาในมุมของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ รวมถึงความหมายของการเรียนรู้ที่พวกเขาให้ความหมาย โดยใช้ระเบียบการวิจัยคุณภาพ เชิงพหุกรณีศึกษา เก็บข้อมูลทั้งหมด 3 กรณีศึกษา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่อยู่ในขั้น Product Market Fit และนำมาวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเกิดขึ้นจาก 2 ประเด็น คือ ความต้องการให้ธุรกิจอยู่รอด และการตอบเป้าหมายส่วนตัว สำหรับวิธีการเรียนรู้ที่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพใช้ เป็นไปในรูปแบบของการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การเรียนรู้ผ่านบทสนทนา และการเรียนรู้ผ่านการรับเข้า ส่วนแหล่งเรียนรู้ที่ผู้ประกอบการใช้เพื่อหาความรู้ ประกอบไปด้วย ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ลูกค้า และจากสื่อที่ศึกษาได้ด้วยตัวเอง สำหรับเนื้อหาที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เรียนรู้ ได้แก่ เนื้อหาด้านการบริหารจัดการ เนื้อหาด้านความต้องการของลูกค้า และเนื้อหาด้านการขาย ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพหลังการเรียนรู้ ศึกษาพบว่ามี 2 ประเด็น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นนักบริหาร และการเป็นนักเรียนรู้ และสุดท้าย ผู้ประกอบการได้ให้ความหมายการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้คือการเก็บข้อมูลเพื่อหาคำตอบ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.