การวิเคราะห์โมเดลราส์ชเพื่อตรวจสอบแผนที่โครงสร้างความเข้าใจธรรมชาติของเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในชั้นเรียนชีววิทยา

มุสตากีม อาแว, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบแผนที่โครงสร้างความเข้าใจธรรมชาติของเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้อ้างอิงรูปแบบการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ตามกรอบการประเมินของ Wilson และ Sloan ในปี 2000 (BEAR Assessment) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบปลายเปิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของธรรมชาติของเทคโนโลยี ร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 101 คน จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลราส์ชสำหรับข้อมูลพหุวิภาค ผลการศึกษาพบว่าแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพบว่าองค์ประกอบที่ง่ายที่สุด คือ ความหมายและวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยี องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเทคโนโลยี มีค่าความยากกว่าองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคม โดยเมื่อวิเคราะห์ค่าความสามารถเฉลี่ยของนักเรียนเท่ากับ -.004 นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 84.16 ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของทักษะการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่อการสร้างเทคโนโลยี จากผลการศึกษาดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการสอนธรรมชาติของเทคโนโลยี ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้นักเรียนได้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันกับผู้อื่นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง ทั้งนี้ควรมีการสะท้อนคิดอย่างชัดแจ้งในช่วงท้ายบทเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของเทคโนโลยีอย่างดีที่สุด


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.