ความแตกต่างสภาพหลอดเลือดแดงในคนไทยที่มีและไม่มีความดันโลหิตสูง

วิทูร จุลรัตนาภรณ์, ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย, เทพ เฉลิมชัย, สุรัตน์ ทองอยู่

Abstract


งานวิจัยนี้มุ่งหมายเพื่อดูความแตกต่างในเชิงความแข็งของผนังหลอดเลือดแดงจากหัวใจถึงข้อเท้าด้วยตัวชี้วัดCardio-ankle vascular index (CAVI)และความแข็งของผนังหลอดเลือดแดงbrachial arteryข้างขวาที่วัดด้วยright brachial artery augmentation index(R-AI) การทำงานของหัวใจที่ประเมินด้วยค่าวัดpre-ejection period(PEP), ejection time(ET), และสัดส่วนPEP/ETระหว่างประชากรไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง จากการเก็บข้อมูลผู้มารับการตรวจสุขภาพที่เป็นคนไทยอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไปจำนวน511รายซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง140รายซึ่งนิยามจากความดันโลหิตตัวบนมากกว่า140มิลลิเมตรปรอทหรือความดันโลหิตตัวล่างมากกว่า90มิลลิเมตรปรอทผลพบว่าในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดความแข็งของผนังหลอดเลือดแดงจากหัวใจถึงข้อเท้า(CAVI)และความแข็งของผนังหลอดเลือดแดงright brachial artery(R-AI)สูงกว่ากลุ่มที่มีความดันโลหิตปกติอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้มีความดันโลหิตสูงยังมีค่าเฉลี่ยของejection timeสั้นกว่าและค่าสัดส่วนPEP/ETที่สูงกว่ากลุ่มความดันโลหิตปกติอย่างมีนัยสำคัญแสดงถึงการทำงานของหัวใจที่แย่กว่าในกลุ่มผู้มีความดันโลหิตสูง ในขณะที่ค่าpre-ejection periodระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยสรุปผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะมีผนังหลอดเลือดแดงแข็งกว่าและการทำงานของหัวใจแย่กว่ากลุ่มที่มีความดันโลหิตปกติ


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.