ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์เวชภัณฑ์ยาด้วยกระบวนการเฟนตันอ็อกซิเดชั่นโดยใช้ดินลูกรัง

รวิรัชต์ สายพิณ, สุมณา ช้างแก้ว, เจนจิต เอี่ยมจตุรภัทร

Abstract


ปัจจุบันปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีประเภทเวชภัณฑ์ยาและเคมีภัณฑ์จากการใช้เพื่อดูแลสุขภาพมนุษย์ในแหล่งน้ำธรรมชาติสูงขึ้น เนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพมีประสิทธิภาพต่ำในการบำบัดสารเคมีดังกล่าว งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้กระบวนการเฟนตันออกซิเดชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย (1) เพี่อศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียผลิตภัณฑ์ยาด้วยกระบวนการเฟนตันออกซิเดชั่น โดยการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของธาตุเหล็กมาใช้ในกระบวนการเฟนตันออกซิเดชั่น และ (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของ สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และระยะเวลาการทำปฏิกิริยา ต่อประสิทธิภาพการกำจัดผลิตภัณฑ์ยาที่เจือปนในน้ำ เวชภัณฑ์ยาที่เลือกใช้ 3 ชนิด ได้แก่ Acetaminophen Amoxicillin และ Estradiol โดยใช้ดินลูกรังซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีสารประกอบธาตุเหล็ก ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปริมาณ H2O2 ที่สูงขึ้น และระยะเวลาการทำปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดยาทั้งสามชนิดมีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้ดินลูกรังเท่ากับ 1 กรัมต่อน้ำเสียสังเคราะห์ 100 มิลลิลิตรน้ำเสีย  สามารถกำจัดเวชภัณฑ์ยาทั้งสามชนิดด้วยปฏิกิริยาเฟนตันได้เป็นอย่างดี เมื่อกำหนดค่าความเข้มข้นตั้งต้นของเวชภัณฑ์ยาเท่ากับ 10 mg/L ระยะเวลาทำปฏิกิริยาเท่ากับ 2 นาที พีเอชสารละลายตั้งต้นเท่ากับ 7 และปริมาณสาร H2Oระหว่าง 2-4 ml/100mlน้ำเสีย ประสิทธิภาพการกำจัดเวชภัณฑ์ยาทั้งสามชนิดมีค่ามากกว่าร้อยละ 85

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.