ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวการบำบัดการรู้คิดและพฤติกรรมเพื่อเสริม สร้างการมองโลกในแง่ดีของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ศันสนีย์ ปัญจวรานนท์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์, ศรีสมร สุริยาศศิน, มณฑิรา จารุเพ็ง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวการบำบัดการ

รู้คิดและพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียโดย(1) เปรียบเทียบการมองโลกในแง่ดีของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ก่อน หลัง และ ระยะติดตามผลการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวการบำบัดการรู้คิดและพฤติกรรม (2) เปรียบเทียบนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มและไม่ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฏีการรู้คิดและพฤติกรรม

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ในช่วง เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2560 จำนวน 160 คน จากการใช้แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี เพื่อใช้โปรแกรมการเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และ กลุ่มควบคุม จำนวน 8 คน ที่ไม่ได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed – Rank Test และ Mann – Whitney U test เพื่อทดสอบ

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) หลังการทดลอง และ ระยะติดตามผลนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวบำบัดการรู้คิดและพฤติกรรมมีการมองโลกในแง่ดีสูงกว่าก่อนการทดลอง  และระยะติดตามผลมีการมองโลกในแง่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(2) นักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวบำบัดการรู้คิดและพฤติกรรมมองโลกในแง่ดีสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวบำบัดการรู้คิดและพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.