ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีเผชิญความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับความเครียดของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ฉันทลักษณ์ ศรีไทย, อุมาภรณ์ สุขารมณ์, ศรีสมร สุริยาศศิน, มณฑิรา จารุเพ็ง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีเผชิญความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 65 คนโดยใช้เครื่องมือ1) แบบวัดปัจจัยส่วนบุคคล2) แบบวัดวิธีเผชิญความเครียด 3) แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและ 4) แบบวัดความเครียดจากนั้นนำข้อมูลที่เก็บได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละความถี่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติt test และ One-way ANOVA และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลที่มีนัยสำคัญกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนพบว่าอาชีพที่ต่างกันมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีเผชิญความเครียดกับความเครียดพบว่าการเผชิญความเครียดด้านการแก้ไขปัญหา ( r = -.315)และด้านการยอมรับ( r = -.304)มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนการเผชิญความเครียดด้านการแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม ด้านการหลีกหนี ด้านการต่อต้าน ด้านการเบี่ยงเบนความสนใจและด้านการผ่อนคลายความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด
  3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านระดับความยากของงาน ด้านความมั่นใจ และด้านการแผ่ขยายไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.