การศึกษาอิทธิพลระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้ลักษณะงานที่ตนปฏิบัติ และคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่
Abstract
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์และพยากรณ์หลัก เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการรับรู้
ความสามารถในตนเอง การรับรู้ลักษณะงานที่ตนปฏิบัติ และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ ตลอดจนเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถในตนเองการรับรู้ลักษณะงานที่ตนปฏิบัติ คุณภาพชีวิตในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการกับสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ ในกรุงเทพและปริมณฑล ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำเข้า (Enter Multiple Regression Analysis) และ Independent t-test ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี การศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 25,000 บาท มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี สังกัดสายสนับสนุน และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้ความสามารถในตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้าน ด้านมิติระดับหรือปริมาณความยาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด การรับรู้ลักษณะงานที่ตนปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้าน ด้านความเป็นเอกลักษณ์ของงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คุณภาพชีวิตในการทำงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ในรายด้าน ด้านความภูมิใจในองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด การวัดผลการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้าน ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.