เอกลักษณ์ของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

นํ้าผึ้ง มีศิล

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาเอกลักษณ์หรือความโดดเด่นของปลาสลิดในเขตจังหวัด
สมุทรปราการในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน โดยการนำวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการทำความเข้าใจถึงความโดดเด่นที่คล้ายคลึงกันของปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการ ข้อค้นพบจากการวิจัยคือ การเลี้ยงปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยการฟันหญ้าแช่ลงในบ่อปลาสลิดซึ่งจะทำให้เกิดไรแดงและแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารของปลาสลิด ส่งผลให้เกิดแก่นของเอกลักษณ์ คือ 1) หนังปลาสลิดมีสีคล้ำ เนื้อปลามีสีเหลืองอ่อน เมื่อทอดแล้วสีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีเหลืองทอง ลำตัวปลาเรียว เล็ก 2) การตากปลาสลิดแห้งแบบดั้งเดิม มีลักษณะ ครีบกาง หางปลาฉีกออก 3) รสชาดของปลาสลิดจังหวัด
สมุทรปราการคือ เนื้อแน่น เหนียว ไม่มีกลิ่นสาป ไขมันน้อย 4) การแปรรูปเป็นปลาสลิดแห้งมักทำใน 2 ลักษณะ คือ ปลาสลิดหอมและปลาสลิดเค็ม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวสมุทรปราการ เมื่อเปรียบเทียบปลาสลิดของจังหวัดสมุทรปราการกับปลาสลิดของจังหวัดอื่น พบว่า ปลาสลิดที่เลี้ยงจากจังหวัดอื่น มักเป็นการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ คือ การเลี้ยงด้วยอาหารปลาทำให้ตัวปลาที่ได้มีขนาดใหญ่ หนังเป็นสีขาว ลำตัวอวบอ้วน มีไขมันที่หน้าท้องมาก และมีกลิ่นสาป ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำมาพัฒนาสัญลักษณ์ทางการค้าที่ระบุถึงคุณสมบัติเฉพาะที่โดดเด่นหรือเอกลักษณ์ของปลาสลิดสมุทรปราการให้ผู้บริโภคทั่วไปรับทราบได้ต่อไป


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.