การศึกษาความต้องการในการสร้างหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ณัฐพงษ์ คันธรส, อัมฤตา สารธิวงค์

Abstract


บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการในการสร้าง
หลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องของผู้อายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการการศึกษาเอกสารเชิงวิชาการ (Documentary Study) และใช้ภาคสนาม (Field Study) โดยการจัดเวที โดยการใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Groups) และการสัมภาษณ์ (Interview) เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน และการสืบค้นข้อมูลจากภาคสนาม โดยการจัดเวทีระดมความคิดเห็น และการสนทนากลุ่มย่อม (Focus Groups) ซึ่งมีจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 15 คนโดยวิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะเจาะจงจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม จำนวน 8 คน, ตัวแทนชุมชน กลุ่ม องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ
จำนวน 4 คน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน
ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า สภาพบริบท ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสาธารณสุข เทศบาล
ตำบลเสริมงามเป็นเทศบาลที่มีความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมในด้านผู้สูงอายุอยู่ก่อนแล้ว เป็นชุมชนที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น และกำลังจะก้าวสู่การเป็นชุมชนผู้สูงอายุ แต่ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ ยังเป็นประเด็นหลักของพื้นที่ในการนำไปสู่การกำหนดหลักสูตรในวิถีคนเสริมงามรูปแบบความต้องการหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องในโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงามพบว่า หลักสูตรนำร่องที่ผู้สูงอายุต้องการสร้างหลักสูตรนำร่องในระยะแรกมีความต้องการให้เกิดหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเสริมงามนั้นประกอบไปด้วย 3 ด้าน เป็นหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีคนเสริม ได้แก่
1. ด้านความรู้ เช่นการสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับ การปั้นหมอ ทอผ้า จักรสาน การทำดอกไม้จัน การ
ทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ(อาหารพื้นบ้าน) การดูแลสุขภาพ(การประเมินสมรรถนะ การยืดเหยียด) กีฬาผู้สูงอายุ
2. ด้านวัฒนธรรมและวิถีชุมชน เช่น การสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับการทำสะตวง (ตำราพื้นบ้าน) การทำใบศรี การทำตลาดพื้นบ้า และ
3. ด้านนันทนาการและสุขภาพ เช่น การสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับ กิจกรรมเข้าจังหวะ รำวง จ้อย ซอ ร้องเพลง ซึ่งเป็นกิจกรรมในเชิงนันทนาการและช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.