การวิเคราะห์วันลาเพื่อคลอดบุตรของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

ณัฎฐา โอภาสธนธร, ช่อเอื้อง วงษ์แก้ว, กาญจนา พุทธโอวาท, สุรศักดิ์ มีบัว

Abstract


ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของนายจ้างให้ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อสถานะของนายจ้างและลูกจ้างมีความแตกต่างกันย่อมที่จะส่งผลให้นายจ้างบางคนเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างได้ จากสาเหตุดังกล่าวจึงมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อกำหนดสิทธิต่างๆ ของลูกจ้างไว้ ซึ่งหนึ่งในสิทธิของลูกจ้างที่สำคัญ คือ ตามมาตรา 41 กำหนดให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อคลอดและดูแลบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วันต่อหนึ่งครรภ์ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นระยะเวลาที่น้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่กำหนดระยะเวลาในการลาที่ยาวนานกว่า ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เห็นว่าในช่วงอายุของคนตั้งแต่ 2 – 3 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ ของบุตรให้สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และบุตรได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้ระยะเวลาในการลาเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้บุตรของลูกจ้างหญิง ดังกล่าวเป็นแรงงานที่สำคัญในอนาคตเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.