การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง

เขมณัฏฐ์ รัตนนิกรเจริญ, จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Abstract


การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพและก้าวให้ทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั้นย่อมส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ภาคประชาชนเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันหาทางออกในการลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาและอุปสรรค และเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสียของโครงการ ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง แต่ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นในระบบของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเจ้าของโครงการเป็นผู้ว่าจ้างให้ดำเนินการศึกษา สำหรับการรับฟังความคิดเห็นพบว่าครอบคลุมทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แต่ระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโครงการยังไม่เพียงพอ โดยทางโครงการได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่การเข้าถึงข้อมูลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เนื่องจากยังไม่มีข้อบังคับให้มีการเผยแพร่รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเมื่อศึกษาแล้วเสร็จ ออกสู่สาธารณะ ดังนั้นโครงการจึงจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ
ระยะดำเนินการโครงการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.