ผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฏีการบรรลุเป้าหมายต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้

สุพัฒตรา แอเด็น, ปาหนัน พิชยภิญโญ, สุนีย์ ละกำปั่น

Abstract


การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฏีการบรรลุเป้าหมายต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ กลุ่มตัวอย่างอายุ    35-65 ปี มีระดับความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมประยุกต์ทฤษฏีการบรรลุเป้าหมายต่อพฤติกรรมสุขภาพ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดระดับความดันโลหิตและชั่งน้ำหนัก ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และที่ 8 ตามลำดับ วิเคราะห์สถิติด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Chi-square, Repeated Measure ANOVA, Bonferroni และ Independent  t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และที่ 8 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการรับประทานยามากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบ และที่สัปดาห์ที่ 8  มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า โปรแกรมประยุกต์ทฤษฏีการบรรลุเป้าหมาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ดังนั้นโปรแกรมนี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยในชุมชนได้


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.