ผลของโปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจอาสาและจิตอาสาตามแนวคิดทฤษฏีการรู้คิดทางสังคมและการเรียนรู้จากการให้บริการสังคมที่มีต่อพฤติกรรมอาสาของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สุนิสา ทรงอยู่, วิชุดา กิจธรธรรม, อรพินทร์ ชูชม

Abstract


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมอาสาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจอาสาและจิตอาสาตามแนวคิดทฤษฏีการรู้คิดทางสังคมและการเรียนรู้จากการให้บริการสังคม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมอาสาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมโปรแกรม และนักศึกษาวิชาชีพครูที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม หลังการทดลอง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 46 คน ใช้วิธีสุ่มจัดกลุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจอาสาและจิตอาสาตามแนวคิดทฤษฏีการรู้คิดทางสังคมและการเรียนรู้จากการให้บริการสังคม และแบบวัดพฤติกรรมอาสา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ Paired Sample t – test และ Independent Sample t – test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมอาสาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมโปรแกรม มีพฤติกรรมอาสาหลังการทดลองสูงกว่านักศึกษาวิชาชีพครูที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.