ผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ในครัวเรือนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในการจัดการมูลฝอยของตัวแทนครัวเรือนในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการ ทดลอง และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของตัวแทนครัวเรือนที่มีต่อการเข้าร่วมโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนครัวเรือน จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Samples T-Test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 68.2 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 46.94 ความรู้ของประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอย พบว่า มีความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะเปียก ร้อยละ 78.89 และมีความรู้น้อยที่สุดเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะในชุมชน ร้อยละ 81.95 พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า พฤติกรรมในการคัดแยกขยะอยู่ในระดับต่ำ (=2.38) 2) ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนสูงกว่าก่อนเข้าเข้าโปรแกรม ( =19.23, S.D.=0.89) และระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนหลังเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก ( =2.73, S.D.=0.72) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 และผลสรุปความคิดเห็นของตัวแทนครัวเรือนที่มีต่อโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด
คำสำคัญ: โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การจัดการขยะในครัวเรือน
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.