การทำงานร่วมกันในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร

นิทรา นาคสุข

Abstract


     วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อยืนยันและจัดลำดับความสำคัญองค์ประกอบของการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ศึกษาองค์ประกอบจำนวน 8 ตัวแปร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การแบ่งปันข้อมูล การวางแผนร่วมกัน การตัดสินใจร่วมกัน การแบ่งปันความรู้ การแบ่งปันทรัพยากร การแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดสรรผลตอบแทนที่เหมาะสม และการวัดผลการดำเนินงานร่วมกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการประเมินความสอดคล้องของโมเดล คือ Chi-square = 408.374, df = 365, p = 0.058, RMSEA = 0.020, SRMR = 0.033, GFI = 0.090, TLI = 0.991, CFI = 0.993, CMIN/DF = 1.119 ผลการวิจัยมี 2 ประเด็น คือ 1) ตัวแปรทั้ง 8 ตัว เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) จัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบการทำงานร่วมกันจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ การจัดสรรผลตอบแทนที่เหมาะสม การแบ่งปันความรู้ และการแก้ปัญหาร่วมกัน กลุ่มที่ 2 มีความสำคัญมาก ได้แก่ การแบ่งปันทรัพยากร การวัดผลการดำเนินงานร่วมกัน และการวางแผนร่วมกัน กลุ่มที่ 3 มีความสำคัญปานกลาง ได้แก่ การแบ่งปันข้อมูล และการตัดสินใจร่วมกัน


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.