การเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

นิตยา รามศิริ

Abstract


            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างจิตสาธารณะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 721 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  จำนวน 8 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่มีค่าเฉลี่ยจากแบบสอบถามจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจในการเข้าร่วมทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และโปรแกรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบไม่มีอิสระจากกัน

          ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การศึกษาจิตสาธารณะโดยภาพรวมและรายด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 อยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้ของส่วนรวมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (MEAN=3.59) รองลงมาคือ ด้านการเคารพสิทธิ (MEAN=3.54) และด้านการถือเป็นหน้าที่ (MEAN=3.52) ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า หลังเข้าร่วมการเสริมสร้างจิตสาธารณะนักเรียนมีค่าเฉลี่ยจิตสาธารณะโดยภาพรวมและทุกด้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.