การย่อยสลายพอลิแลคติกแอซิดโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในดินจากหลุมฝังกลบขยะ และตะกอนนํ้าเสีย โรงงานปลาทูน่ากระป๋อง

สุภารัตน์ ปั้นพุ่มโพธิ์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพพอลิแลคติก
แอซิด (PLA) ด้วยกระบวนการทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์ในดินจากหลุมฝังกลบขยะและตะกอนนํ้าเสีย ซึ่งทำการทดสอบหาอัตราส่วนระหว่างดินจากหลุมฝังกลบขยะและตะกอนนํ้าเสียที่เหมาะสมต่อการย่อยสลายPLAโดยตรวจวัดจากนํ้าหนักของ PLA ที่หายไป เมื่อนำแผ่น PLA ฝังลงในดินจากหลุมฝังกลบขยะ และตะกอนนํ้าเสียที่อัตราส่วนต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ชุดทดลองที่มีอัตราส่วนของดินจากหลุมฝังกลบขยะและตะกอนนํ้าเสียเท่ากับ 25:75 ค่านํ้าหนักที่หายไปของแผ่น PLA สูงที่สุดคือ 25.45% จากนั้นนำอัตราส่วนที่เหมาะสมนี้ไปศึกษาผลของการกระตุ้นการย่อยสลาย PLA ของจุลินทรีย์โดยการเติมสารอาหาร (คาร์บอน ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) ต่ออัตราการย่อยสลาย PLA พบว่า ชุดทดลองที่ไม่มีการเติมคาร์บอน ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส (ชุดควบคุม) มีค่านํ้าหนักของแผ่น PLA ที่หายไปสูงที่สุดคือ
14.43% ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าจุลนิ ทรีย์ประจำถิ่นที่อยู่ในดินจากหลุมฝังกลบขยะและตะกอนน้ำเสียมีความสามารถในการย่อยสลาย PLA ได้ดีโดยไม่ต้องมีการเติมสารอาหารอื่นเพื่อเร่งการเจริญและการย่อยสลาย PLA


Keywords


พอลิแลคติกแอซิด; ดินจากหลุมฝังกลบขยะ; ตะกอนนํ้าเสีย

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.