การทำปุ๋ยหมักและวัสดุปลูกจากวัชพืชนํ้าและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในพื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

สุภาพร บัวชุม

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผักตบชวาและผักกระเฉดในการทำปุ๋ยหมักและวัสดุปลูก อันจะนำมาซึ่งวิธีการควบคุมกำจัดและการกำหนดนโยบายสำหรับการควบคุม การเจริญเติบโตของวัชพืชนํ้าในพื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชต่อไป การทดลองทำปุ๋ยและวัสดุหมัก ได้กำหนด 7 สิ่งทดลอง โดยจัดการทดลองแบบ CRD สิ่งทดลองละ 4 ซํ้า ดังนี้ Tr.1 = ผักตบชวา 100% Tr.2 = วัชพืชนํ้า (ปุ๋ยหมักผักตบชวา 30% : ผักกระเฉด 70%) Tr.3 = วัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ด Tr.4 = ผักตบชวา + ขี้เถ้าแกลบ ในอัตราส่วน 15% Tr.5 = วัชพืชนํ้า + ขี้เถ้าแกลบ ในอัตราส่วน 15% Tr.6 =
วัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ด + ขี้เถ้าแกลบ ในอัตราส่วน 15% และ Tr.7= ตัวควบคุม (ดิน) ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตด้านความสูง จำนวนใบ และความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางใบ ของสิ่งทดลองต่าง ๆ เมื่ออายุ 40 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบว่า Tr.5 มีอัตราการเจริญเติบโตมากที่สุด (ความสูง 32.51 ซม. จำนวนใบ 12.69 ใบ ความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางใบ 9.16 ซม.) ในขณะที่ Tr.7 มีค่าตํ่าสุด (ความสูง 27..57 ซม. จำนวนใบ 11.73 ใบ ความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางใบ 8.89 ซม.) ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ของ Tr.5 ซึ่งมีทั้งธาตุอาหารหลักและรองที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การนำวัชพืชนํ้าไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ในการทำปุ๋ยหมักและวัสดุปลูกนี้ จะเป็นเทคนิควิธีอย่างหนึ่งในการจัดการสิ่งแวดล้อม


Keywords


ปุ๋ยหมัก; วัสดุปลูก; วัชพืชนํ้า

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.