การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากหญ้าเนเปียร์

ศุภชัย ธรรมศิริทรัพย์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากหญ้าเนเปียร์ สายพันธุ์ปากช่อง 1 โดยนำมาผสมกับแป้งมันสำปะหลังซึ่งใช้เป็นตัวประสานให้ได้สัดส่วนหญ้าเปียร์ต่อแป้งมันสำปะหลัง เท่ากับ 100 : 0, 95 : 5, 90 : 10, 85 : 15 และ 80 : 20 แล้วจึงนำไปอัดแท่ง จากนั้นนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ คือ ความหนาแน่น (Density) และค่าต้านทานแรงกด (Compressive strength) วิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง คือ ดัชนีการแตกร่วน (Shatter index) และค่าความร้อน (Heating Value) ผลการวิจัยพบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีสัดส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อแป้งมันสำปะหลังเท่ากับ 100 : 0 เมื่ออัดแท่งออกมาแล้วไม่สามารถคงรูปได้ เนื่องจากไม่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน สัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากหญ้าเนเปียร์คือ สัดส่วนหญ้าเนเปียร์ : แป้งมันสำปะหลัง เท่ากับ 90 : 10 เนื่องจากมีค่าความร้อนที่สูงเท่ากับ 3,887.1 แคลอรีต่อกรัม มีค่าต้านทานแรงกดที่สูง 24.727 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร แท่งเชื้อเพลิงที่ได้จะมีความแข็งแรง ง่ายต่อการขนส่งและการเก็บรักษาที่สะดวก มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.723 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีดัชนีการแตกร่วนเท่ากับ 0.942 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสามารถนำหญ้าเนเปียร์มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งได้ เป็นการนำแหล่งชีวมวลแหล่งใหม่ที่มีศักยภาพในการผลิตสูงมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้


Keywords


หญ้าเนเปียร์; เชื้อเพลิงอัดแท่ง; ชีวมวล

Full Text:

PDF

References


กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2551). คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 4 พลังงานชีวมวล.

ไกรลาศ เขียวทอง. (2555). คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา.

ชมธิดา ชื่นนิยม. (2553). การศึกษาการเพิ่มมูลค่าของเศษซังข้าวโพดโดยการทำเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองทิพย์ พูลเกษม. (2542). การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกทุเรียนเพื่อทดแทนฟืนและถ่านในการหุงต้มในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาทรัพยากร มหาวิทยาลัยมหิดล.

นํ้าเพชร พันธุ์พิพัฒน์ และ สุภวัฒน์ วิวรรธ์ภัทรกิจ. (2555). ศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยไบโอแก๊สที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัญจรัตน์ โจลานันท์, อาทิตย์ พุทธรักชาติ และ จันสุดา คำ. (2554). พลังงานทดแทนชุมชนจากเชื้อเพลิงแข็งอัดแท่งไมยราบยักษ์. วิศวกรรมสาร มข., 16(1), 20-31.

ลักขณา วุฒิปราชญ์อำไพ, กานดา นาคมณี, วีระพล พูนพิพัฒน์ และ สุภาพร มนต์ชัยกุล. (2541). ผลของระยะปลูกที่มีต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าเนเปียร์แคระ 3 พันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยนาท.

สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์. (2554). การสร้างเตาหุงต้มเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับชุมชน. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุริยา ชัยเดชทยากูล. (2544). การทำเชื้อเพลิงอัดแท่งจากส่วนผสมกากตะกอนของระบบบำบัดนํ้าเสียและเศษชิ้นไม้สับของโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.