การตกค้างของสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียงสวนผลไม้ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ศิวพันธุ์ ชูอินทร์

Abstract


สวนผลไม้ (สวนส้มโอ สวนมะพร้าว และสวนลิ้นจี่) อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนได้ ดำเนินการเก็บตัวอย่างนํ้า ดิน และดินตะกอน ทั้งหมด 42 สวน (ตัวอย่าง)ศึกษาการตกค้างของสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช จำนวน 6 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน ได้แก่ สารลินเดรน สารเฮปตาคลอร์ สารอัลดริล สารดีลดริล และสารกลุ่มคาร์บาเมท ได้แก่ สารเมโธมิล และสารคาร์บาริล
จากผลการสำรวจพบว่าโดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นการทำสวนผลไม้ที่ไม่ได้มีการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแล้ว มีจำนวนสวนที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากกว่าสวนที่มีการใช้สารที่ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยสวนส้มโอมีการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากกว่าสวนชนิดอื่น สารเคมีที่มีการใช้เรียกในชื่อทางการค้าคือสารแลนเนต หรือสารเมโทมิล ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทั้ง 6 ชนิดในทุกตัวอย่างที่ทำการตรวจวิเคราะห์ ทั้งสวนที่มีและไม่มีการใช้สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการทำสวนผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารพิษอย่างแท้จริง


Keywords


สวนผลไม้; สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช; อำ เภออัมพวา

Full Text:

PDF

References


ทวีศักดิ์ ด้วงทอง (2553). การปลูกส้มโอ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม.

วิษณุ อุทโยภาศ (2553). ลิ้นจี่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม.

วิสูตร สุกร และไพรัตน์ สีหัวโทน. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประชากรหิ่งห้อยบริเวณสวนผลไม้ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม. (2553). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 53-56. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2552. จาก http://www.samutsongkhram.go.th/index1.htm

สำนักส่งเสริมการอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). การปลูกมะพร้าว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.