องค์ประกอบทางเคมีของโป่งธรรมชาติและโป่งเทียมสำหรับช้างป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ศลิษา กันทะชมภู

Abstract


โป่งมีความสำคัญต่อสัตว์กินพืชขนาดใหญ่โดยเฉพาะช้างป่า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปริมาณธาตุอาหารหลักได้แก่ โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม และธาตุอาหารรอง ได้แก่ เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส ในดินโป่งธรรมชาติ 10 โป่ง โป่งเทียม 20 โป่ง และดินธรรมชาติ 8 จุด พบว่า ธาตุเหล็กเป็นธาตุที่มีปริมาณสูงสุดทั้งในโป่งธรรมชาติ โป่งเทียม และดินธรรมชาติ 1,4761.6m7,899.9,6,796.9m4,629.0 และ 10,462.5m2,316.3 ppm ตามลาดับ รองลงมาคือ แมกนีเซียมมีค่าเฉลี่ย 7,377.5m4,084.2,2,879.5m1,728.0 และ 3,212.4m1,337.0 ppm ตามลาดับ นอกจากนี้พบว่าโป่งธรรมชาติมีค่าความเค็ม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง และสังกะสี สูงกว่าดินธรรมชาติ ขณะที่โป่งธรรมชาติมีค่าโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสีสูงกว่าโป่งเทียม ยกเว้นค่าความเค็มที่โป่งเทียมมีค่าสูงกว่าโป่งธรรมชาติ จากข้อมูลที่ได้สามารถนำไปกำหนดการจัดการโป่งเทียมใหช้าป่าในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีให้มีการเติมธาตุอาหารที่มีปริมาณน้อยกว่าโป่งธรรมชาติ และลดปริมาณเกลือลงเพื่อให้ค่าองค์ประกอบทางเคมีของโป่งเทียมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติมากที่สุด


Keywords


อุทยานแห่งชาติกุยบุรี; โป่งธรรมชาติ; โป่งเทียม; ธาตุอาหาร; ช้างป่า

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.