การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตข้าว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ศรัญญา อุตรพงศ์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าว และปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพทางเทคนิค ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้ข้อมูลปีการผลิตข้าวนาปี 2556/2557 และจากการสำรวจเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพร้าวnจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 ราย สำหรับแบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคในการวิจัยnครั้งนี้คือ แบบจำลองเส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม (Stochastic Production Frontier)
ผลการศึกษาพบว่า จากการประมาณค่าเส้นพรมแดนการผลิตข้าว โดยใช้โปรแกรม LIMDEP 8.0 โดยเฉลี่ย พบว่า ระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวของครัวเรือนเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.70 โดยส่วนใหญ่ครัวเรือนเกษตรกรร้อยละ 38 มีระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคอยู่ในระดับสูงมาก (0.8001 – 1.0000) ร้อยละ 23 อยู่ในระดับปานกลาง (0.5001 – 7.000) ร้อยละ 22 อยู่ในระดับสูง (0.7001 – 0.8000) ร้อยละ 15 อยู่ในระดับตํ่า (0.3001 – 0.5000) และร้อยละ 2 อยู่ในระดับตํ่ามาก (≤ 0.3000) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความไม่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวลดลงในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำนาของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร และการไม่มีปัญหาด้านการผลิต ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 และ 0.05 ตามลำดับ
โดยสรุป ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวของครัวเรือนเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นได้เมื่อเกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำนาและไม่มีปัญหาในด้านการผลิต ในส่วนข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรที่จะมีการจัดฝึกอบรมแก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มความรู้ และประสบการณ์ในการทำนาให้มากยิ่งขึ้น และให้การช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร็วที่สุดเมื่อเกษตรกรประสบปัญหาในด้านการผลิต


Keywords


การประมาณค่าฟังก์ชันพรมแดนการผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม; ประสิทธิภาพทางเทคนิค

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.