การปรับปรุงคุณภาพแก๊สชีวภาพโดยการลดความชื้นด้วยแกลบเปรียบเทียบกับซิลิกาเจล

พชรนันท์ สิงห์แก้ว

Abstract


งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแก๊สชีวภาพจากนํ้าเสียโดยใช้วิธีหมักร่วมกับกากถั่วเหลืองซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน การหมักจะใช้อัตราส่วนที่แตกต่างกันในถังหมัก ขนาด 5 ลิตร ระยะเวลาทดลอง 30 วัน เป็นการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน และทำการหมักแบบครั้งเดียว (Batch) ที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมปกติ (ประมาณ 32 oC) โดยแก๊สชีวภาพที่เกิดขึ้นถูกเก็บด้วยการแทนที่นํ้าและนำไปวิเคราะห์หาสัดส่วนปริมาณแก๊สชีวภาพด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟี จากการทดลองพบว่า สภาวะที่ดีที่สุดคือ ที่อัตราส่วนของนํ้าเสีย:กากถั่วเหลืองเป็น 4:1 ได้มีเทนโดยเฉลี่ย 63% ปริมาณแก๊สชีวภาพมากสุด 535.53 มิลลิลิตร/วัน ค่าความร้อน 13.23 เมกะจูล/ลูกบาศก์เมตร ค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 7.5 - 8.0 เมื่อนำแก๊สชีวภาพไปผ่านการลดความชื้นด้วยขี้เถ้าแกลบที่ผ่านการเผาแกลบที่อุณหภูมิ 800 oC เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ใช้เวลาในการลดความชื้น 40 นาที โดยนํ้าหนักแกลบที่ใช้คือ 35 กรัม สามารถลดความชื้นได้ 6.03% และที่เงื่อนไขเดียวกันเมื่อใช้ซิลิกาเจลโดยนํ้าหนัก 105 กรัมสามารถลดความชื้นได้ 0.13%


Keywords


การลดความชื้นในแก๊สชีวภาพ; แกลบ; ซิลิกาเจล

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.